ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai


            ส่วนหฤทัยตามความหมายแห่งโลกุตระนั้น คือ จิตแหล่งเก็บ ปัญญา เพื่อไปสู่พระนิพพาน อันจะทำให้เราได้เป็นเช่นพระพุทธเจ้าในที่สุด ปรัชญาปารามิตาหฤทัย สูตร คือ คำสอนหัวใจแห่งปัญญานำพาข้ามฝากฝั่ง  ในมหายานหลักสำคัญที่จะต้องบำเพ็ญคือโพธิสัตวจริยาหมายถึงข้อที่จะต้องบำเพ็ญคือบารมี 6 อัปปมัญญา 4 และมหาปณิธาน 4  เป็นหลักแห่งโพธิสัตวภูมิซึ่งเป็นอุดมคติที่มหายานทุกนิกายจะต้องยอมรับนับถือ จึงกลายเป็นพุทธภูมิ ดังนั้นโพธิสัตวภูมิจึงเป็นเหตุ ส่วนพุทธภูมิเป็นผล (อภิชัย โพธิ์ประสิทธิ์ศาสต์,พระพุทธศาสนามหายาน,พิมพ์ครั้งที่ 4,กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย 2539, หน้า 135.)

            3. หลักมหาอุปาย คือพระโพธิสัตว์จะต้องประกอบด้วยกุศโลบายนานัปการ ในการช่วยเหลือปวงสัตว์ ต้องประกอบด้วยไหวพริบปฏิภาณในการเข้าถึงอธิมุติของปวงสัตว์เปรียบเหมือน นายแพทย์ผู้ฉลาดรู้จักวางยาให้ถูกโรคอาศัยข้อนี้แหละทางฝ่ายมหายานจึงได้เพิ่มเติมคติ ธรรมและพิธีการซึ่งไม่เคยมีในฝ่ายเถรวาทเข้ามามากมายโดยถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงอุบาย ชักจูงให้ผู้เขลาโน้มเอียงเข้ามาสู่สัจธรรมในเบื้องปลายเท่านั้น คุรุนาคารชุน ได้สถาปนาความ มั่นคงฝ่ายมหายานด้วยแนวคิดดังที่ได้กล่าวมาแล้วด้วยปรัชญาปารามิตาหฤทัยสูตร พระสูตรสั้นๆแต่มีสาระสำคัญอันเป็นบ่อเกิดแห่งความมั่นคงของ มหายาน ในคัมภีร์มาธยมิกศาสตร์ ท่านคุรุนาคารชุนได้เริ่มปณามคาถาในต้นปกรณ์ว่า “ไม่มีความเกิดขึ้น ไม่มีความดับ ไม่มีความขาดสูญ ไม่มีความเที่ยงแท้ ไม่มีอรรถแต่อย่าง เดียว ไม่มีอรรถนานาประการ ไม่มีการมา ไม่มีการไป ท่านใดกล่าวไว้ เป็นปฏิจจสมุปบาท ธรรม ท่านผู้นั้นคือพระพุทธเจ้า ข้าขอนอบน้อม แด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ดับเสียได้ซึ่ง ปปัญจธรรมเป็นเลิศยิ่งกว่าวาทะทั้งหลาย” 
            การดำเนินชีวิตของพระโพธิสัตว์เมื่อดำเนินตาม “ปรัชญาปารามิตา” จิตย่อมไม่สับสนมืดมัว เพราะจิตไม่สับสนมืดมัว จึงไม่มีความกลัว อยู่เหนือความ หลอกลวง มีพระนิพพานเป็นที่สุด

            พระโพธิสัตว์ คือผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่ทรงไว้ซึ่ง มหาเมตตากรุณา ในวิมลเกรียติสูตรได้กล่าวไว้ว่า”โรคของสัตว์โลกเกิดจากกิเลส โรคของ พระโพธิสัตว์เกิดจากมหาเมตตา” พระโพธิสัตว์มุ่งรักษาโรคทั้งหลายทั้งปวง ทั้งทางกาย และใจแก่สรรพสัตว์ เหตุใดเราจึงเรียกพ่อแม่ว่าเป็นพระโพธิสัตว์ของลูก เมื่อลูกเจ็บป่วย ความเจ็บป่วยของลูกคือความเจ็บป่วยของพ่อแม่ และถ้าพ่อแม่ลูกเจ็บป่วยพร้อมกัน พ่อแม่จะ ไม่รักษาตนเองก่อนที่จะรักษาลูก ความเจ็บป่วยของพระโพธิสัตว์เกิดจากต้องการช่วยสัตว์โลก ต้องการให้สัตว์โลกได้รับความสุข พระโพธิสัตว์อยู่เหนือความทุกข์ทั้งมวล ที่เป็นทุกข์อยู่ ไม่ใช่ ทุกข์ของตนแต่เป็นทุกข์ของสัตว์โลก เพราะสัตว์โลกเจ็บป่วย ตนจึงเจ็บป่วย ในบรรดาธรรม ของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนแก่ชาวโลก ศาสตร์แห่งการแพทย์ถือว่าเป็นสุดยอด ศาสตร์แห่งการ แพทย์ คือศาสตร์ที่พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ทรงใช้อยู่ตลอดเวลา ทศบารมี 10ประการ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ สมาธิ ปัญญา อุบาย ปณิธาน พละ ฌาน เกิดขึ้นพร้อมกันทันที่ เมื่อได้มีการ ปฏิบัติศาสตร์แห่งการแพทย์ ดังนั้นบุคคลที่มุ่งบำบัดทุกข์ทั้งทางกาย และใจของชาวโลกโดย หวังสิ่งตอบแทน เพียงความสุขของชาวโลกบุคคลนั้นจึงเป็นพระโพธิสัตว์ที่จริงแท้
            พระโพธิสัตว์ที่ปฏิบัติตนเช่นนั้นได้ ก็ด้วยเห็นแจ้งถึงธรรมชาติของสรรพสิ่งที่เป็นความว่างเปล่า แพทย์ในโลกียะวิสัยเมื่อเจ็บป่วยต้องรักษาตนเองให้หายก่อนจึงจะรักษาผู้อื่นต่อไป แต่แพทย์ โพธิสัตว์ถึงแม้ตนจะเจ็บป่วยอยู่ก็จะรักษาผู้อื่นไปเรื่อยๆ เพราะท่านทรงเห็นแจ้งในธรรมชาติ ความว่างเปล่า ของความเจ็บป่วยนั้น และด้วยมหาเมตตาที่ท่านมีอยู่ โดยปรกติแล้ว คนทั่วโลก กลัวความมืด ในความมืดไม่สามารถเห็นสิ่งใด ใจก็คอยระแวงว่าจะมีภัยอันตรายอย่างนี้ อย่างนั้นเกิดขึ้น คนที่ไม่กลัวความมืดคือคนที่นอนหลับในช่วงที่นอนหลับคือช่วงที่ใจว่างที่สุด จึงไม่กลัวความมืด เช่นกัน เมื่อใจว่างแม้อยู่ในที่มืดใจก็สว่าง พระโพธิสัตว์ จิตของท่านว่าง เปล่า ท่านจึงไม่มีความมืด ความสว่าง จิตของพระโพธิสัตว์ว่างเปล่า ท่านจึงไม่มีสิ่งใด ต้องกลัว อยู่เหนือความหลอกลวง ความหวาดระแวง มายาภาพเกิดจากการปรุงแต่งของจิต นั่นคือเท็จและจริงเกี่ยวพันกันอยู่ตลอดเวลา และนั่นก็คือธรรมชาติแท้ของสรรพสิ่งอันว่างเปล่า 


            ในประวัติปรมาจารย์นิกายเซ็นองค์ที่ 6 ของประเทศจีน ท่านฮุ่ยเล้ง มีพระอาจารย์ท่านหนึ่ง ได้กล่าวว่า ร่างกายคือต้นโพธิ์ จิตใจคือกระจกเงา ต้องหมั่นเช็ดถูทุกเวลา อย่าให้ฝุ่นละออง มาเกาะติด นั่นคืออภิญญาจิตแต่มิใช่สุดยอดแห่งนิพพาน ท่านฮุ่ยเล้งได้แก้บทข้างบนว่า ต้นโพธิ์นั้นมิใช่โพธิ์ อีกทั้งกระจกเงาก็ไม่มี จะต้องเช็ดถูอะไร มีอะไรให้ฝุ่นละอองเกาะ พระนิพพานบังเกิดขึ้นในจิตนี้ (พุทธทาสภิกขุ,เว่ยหลาง,กรุงเทพฯ: ธรรมสภา,2539, หน้า 10.)
            ท่านฮุ่ยเล้งได้บรรลุเห็นแจ้ง และได้เป็นปรมาจารย์ นิกายเซ็น องค์ที่ 6 ได้ทำคุณประโยชน์แก่พุทธศาสนาอย่างมากมาย พระนิพพาน มีผู้นำไปแปลความ หมายว่า การดับสูญ เป็นความเข้าใจความหมายที่แคบเกินไป การดับสูญกิเลสของปัจเจก บุคคลเป็นพระนิพพานในความหมายนี้ การสูญสิ้นของกิเลสพร้อมกับ การจรรโลงโลก ธรรมชาติ สังคม ให้คงอยู่ เพื่อสรรพสัตว์ได้พบบรมสุข อยู่ในสันติภาพอันนิรันดร์ มีโอกาสเข้า สู่พุทธเกษตร นั่นจึงเป็นพระนิพพานอันแท้จริง 

            หลักมหาปณิธานหรือมหาจตุรปณิธานนั้นมีระบุไว้ว่า “พระโพธิสัตว์ของมหายานจะต้องประกอบด้วยมหาจตุรปณิธานเป็นหลักใจคือ(1)เราจะละกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้น (2) เราจะตั้งใจศึกษาพระธรรมให้มีความรู้เจนจบ (3) เราจะโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น (4) เราจะบำเพ็ญเพียรทำตนให้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ   (พระราชธรรมนิเทศ,ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา,พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2536,หน้า 228.)
            พระพุทธศาสนามหายานตั้งอุดมคติในการบำเบ็ญบารมีโดยมีหลักสำคัญสามประการคือหลักมหาปัญญา หลักมหากรุณา และหลักมหาอุบาย นอกจากนั้นยังต้องประกอบด้วยมหาจตุรปณิธานอีกด้วย


พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
13/07/53


บรรณานุกรม

พระราชธรรมนิเทศ.ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา.(พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย,2536.
พุทธทาสภิกขุ.เว่ยหลาง. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา,2539.
สุลักษณ์ ศิวรักษ์.ความเข้าใจในเรื่องมหายาน.กรุงเทพฯ: ส่องศยาม,2545.
เสถียร  โพธินันทะ.ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ ภาคหนึ่ง.กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2514.
ศานติเทวะ(ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ แปล).โพธิสัตว์จรรยาวตาร.(พิมพ์ครั้งที่ 2), กรุงเทพฯ: ศูนย์ไทย-ธิเบต,2543.
วิชชา พนาจารย์ แปล.วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร.กรุงเทพฯ: มาดีพลับลิชชิ่ง,2543.
อภิชัย โพธิ์ประสิทธิ์ศาสต์.พระพุทธศาสนามหายาน.(พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2539.

              

 

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก