ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

           ภาษาบาลีมีรูปประโยคและวิธีการแปลที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษ อาจจะไม่เหมือนภาษาใดในโลก ลักษณะประโยคที่เรียกในภาษาบาลีว่าวาจกนั้น มีถึงห้าวาจกโดยขึ้นอยู่กับการกระทำของประธานว่าเป็นผู้ทำเอง ผู้ถูกกระทำ ประธานเป็นเพียงผู้ที่ถูกอ้างถึง ประธานใช้ให้ผู้อื่นทำ หรือประธานถูกกระทำโดยมีผู้อื่นใช้ให้ผู้อื่นทำ ดังนั้นการกำหนดประโยคหรือวาจกจึงมีส่วนสำคัญในการแปลภาษาบาลีเป็นภาษาไทย ในบทนี้จะได้นำเสนอประโยคและการแปลภาษาบาลี(Sentence and Translation in Pāli Language) เบื้องต้นพอเป็นแนวทางสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาต่อไป 
           ภาษาบาลีมีลักษณะพิเศษไปจากภาษาอื่นคือการเรียงลำดับการแปล มีรูปแบบทั่วไปคือ ประธาน +ตัวขยาย + กิริยา  เช่น  วานรา  วเน  วสนฺติ   ฝูงลิงย่อมอยู่ในป่า  วานรา(ลิง) เป็นประธาน วเน(ป่า) เป็นตัวขยาย วสนฺติ(ย่อมอยู่) เป็นกิริยา เป็นต้น  ดังนั้นการศึกษาการแปลภาษาบาลีส่วนสำคัญคือต้องกำหนดประโยคให้ได้ว่า  ในแต่ละประโยคประกอบด้วยส่วนใดบ้าง  เมื่อกำหนดได้แล้วจึงดูว่าเป็นวาจกอะไร ส่วนคำศัพท์สามารถเปิดพนานุกรมบาลีไทยดูได้ แต่ถ้าแปลผิดวาจกถือว่าผิดมากในภาษาบาลี ในบทนี้ จึงได้อธิบายประโยคหรือวาจกและหลักการแปลพอสังเขป

ประโยคหรือวาจกในภาษาบาลี

           ประโยคในภาษามคธได้แก่ข้อความที่รู้จักกันว่า “วาจก” แปลว่าบอกคือบอกบทที่เป็นประธานของกิริยาในประโยคว่าทำหน้าที่อะไร แต่ละวาจกก็คือประโยคหนึ่งๆนั่นเอง ในภาษาบาลีแบ่งวาจกตามลักษณะของไวยากรณ์ได้ดังนี้
           1. ประโยคกัตตุวาจก คือประโยคที่ประธานทำเอง ลงปัจจัย 10  ตัว  คือ  อ, เอ,  ย,  ณุ,  ณา,  นา, ณฺหา,  โอ,  เณ,  ณย.  ปัจจัยทั้ง 10  ตัว    เช่น  สูโท   โอทนํ  ปจติ  อ. พ่อครัว หุงอยู่ ซึ่งข้าวสุก,อหํ ชาคโรมิ อ.ข้าฯ ตื่นอยู่, ตุมฺเห   กมฺมํ  กโรถ  อ. ท่าน ท . จงกระทำซึ่ง การงาน
           2. ประโยคกัมมวาจก คือประโยคที่ประธานถูกทำลงอิ อาคม หน้า ย ปัจจัย และ เต วัตตมานาวิภัตติฝ่ายอัตตโนบท ใช้ได้เฉพาะธาตุที่เป็นสกัมธาตุเท่านั้นเช่น   สูเทน  โอทโน  ปจิยเต   อ. ข้าวสุก อันพ่อครัว หุงอยู่   สามเณรสฺส จีวรํ สิวิยเต เป็นต้น
           3. ประโยคภาววาจก คือประโยคที่ประธานเป็นตติยาวิภัตติ กิริยาที่กล่าวเพียงความเป็นไปของกิริยาอาการส่วนมากเป็นอกัมมธาตุ   เช่น   เตน  ภูยเต   อันเขา เป็นอยู่
           4. ประโยคเหตุกัตตุวาจก คือประโยคที่ประธานใช้ให้ผู้อื่นทำลงปัจจัย 4 ตัวคือ เณ.  ณย,  ณาเป, ณาปย   เช่น  สามิโก  สูทํ โอทนํ ปาเจติ อ.นาย ยังพ่อครัวให้หุงอยู่ซึ่งข้าวสุก
           5. ประโยคเหตุกัมมวาจก คือประโยคที่ประธานถูกกระทำโดยมีผู้อื่นใช้ให้ผู้อื่นทำ ลงปัจจัย 4 ตัว ตัวใดตัวหนึ่งในเหตุกัตตุวาจกแล้วลง อิ อาคม และ ย ปัจจัยในกัมมวาจก เช่น สามิเกน  สูเทน  โอทโน  ปาจาปิยเต  อ.ข้าวสุก อันนาย ยังพ่อครัวให้หุงอยู่
           สกัมมธาตุและอกัมมธาตุในธาตุทั้ง 8  หมู่นั้น ธาตุบางเหล่าเป็นธาตุไม่มีกรรม  ธาตุบางเหล่ามีกรรม  ธาตุเหล่าใด  ไม่ต้องเรียกหากรรม  คือสิ่งอันบุคคลพึงทำ  ธาตุเหล่านั้น  เรียกว่าอกัมมธาตุ  ธาตุไม่มีกรรม  ธาตุเหล่าใดเรียกหากรรม  ธาตุเหล่านั้น  เรียกว่าสกัมมธาตุ  ธาตุมีกรรม เช่น
           รุธฺ  ธาตุ  เป็นไปในความ  ปิด  เรียกหากรรมว่า  ปิดซึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  มีประตูเป็นต้น   
           อิกฺขฺ  เป็นไปในความ  เห็น  เรียกหากรรมว่า  เห็นซึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  มีต้นไม้เป็นต้น ถึงแม้ธาตุที่มีกรรมอันเหลือจากนี้  ก็พึงรู้โดยนัยนี้เถิด  
           ส่วนธาตุที่เป็นอกรรมธาตุเช่น สกฺก อาจ,  มนฺต  ปรึกษา, ทิว เล่น, มร  ตาย, ภู มี เป็น,หุ มี เป็น,สี นอน เป็นต้น

การแปลภาษาบาลี

           ในการแปลภาษาบาลีเป็นภาษาไทยนั้น เนื่องจากภาษาบาลีมีรูปแบบที่แตกต่างไปจากภาษาไทย คือประโยคภาษาไทยจะเริ่มต้นด้วยประธาน  กิริยา และกรรม  แต่ประโยคในภาษาบาลีจะมีโครงสร้างประโยคเป็นประธาน กรรม และกิริยา กาแปลมี 2 อย่างคือ 
           1. แปลโดยพยัญชนะ คือแปลออกสำเนียงธาตุ วิภัตติ ปัจจัย ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
           2. แปลโดยอรรถ คือการแปลมุ่งเอาใจความเป็นสำคัญ ไม่ได้มุ่งวิภัตติ ปัจจัยเป็นสำคัญ เช่น สามเณรา ติสฺสํ สาลายํ ภตฺตานิ ภุญฺชนฺติ  เหล่าสามเณร กำลังฉันข้าว ที่ศาลาหลังนั้น เป็นต้น (เวทย์  วรัญญู,หลักเกณฑ์ การแปลบาลีและหลักสัมพันธ์,พิมพ์ครั้งที่ 1,(นครปฐม: บรรณกรการพิมพ์,2545),หน้า 1.
           ก่อนจะแปลควรทราบประโยคต่างๆ ในภาษาบาลีดังต่อไปนี้

โครงสร้างรูปประโยคภาษามคธ โครงสร้างหลักของรูปประโยคแบ่งออกเป็น 3 ภาคคือ
           1.  ภาคประธาน
           2.  ภาคกิริยาในระหว่าง
           3.  ภาคกิริยาคุมพากย์
การเรียงลำดับการแปล มีอยู่ 10 อย่าง ต้องดำเนินไปตามลำดับดังนี้
           1. อาลปนะ
           2.  นิบาตต้นข้อความ
           3. บทกาลสัตตมี
           4. บทประธาน
           5. บทที่เนื่องด้วยประธาน
           6. กิริยาในระหว่าง
           7. บทที่เนื่องด้วยกิริยาในระหว่าง
           8. ประโยคแทรก
           9.  กิริยาคุมพากย์ 
           10. บทที่เนื่องด้วยกิริยาคุมพากย์

1. อาลปนะ

           ตามสำนวนบาลีเรียงไว้เป็นที่  2  ในข้อความอันนั้น  เช่น  สงฺฆํ  ภนฺเต  อุปสมฺปทํ  ยาจามิ  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้า ฯ  ขอ  ซึ่งอุปสมบท  กะสงฆ์   ถ้ามีสัพพนามหรือ  นิบาตอยู่  เรียงอาลปนะไว้  เป็นที่ 3  บ้าง  เป็นที่ 4  บ้าง  เช่น  ธมฺมํ หิ  โว  ภิกฺขเว  เทเสสฺสามิ   แน่ะภิกษุ  ท.  เรา  จักแสดงซึ่งธรรม  แก่ท่าน ท.  กุหึ  ปน  ตฺวํ  อาวุโส  วสฺสํ  วุตฺโถ. ดูก่อนผู้มีอายุ  ก็  ท่าน  อยู่  ตลอดพรรษาแล้ว  ในที่ไหน   
           ตามสำนวนอรรถกถา  เรียงอาลปนะไว้ข้างต้นบ้าง  ในที่สุดแห่งประโยคบ้าง  เช่น    ภนฺเต  มํ  มา  นาเสถ.  ข้าแต่ท่านผู้เจริญขอท่าน  ท.  อย่ายังข้า ฯ  ให้ฉิบหาย   เอวํ  กโรหิ  มหาราช. ข้าแต่มหาราช  ขอพระองค์  จงทรงทำอย่างนี้ อาลปนะมีสองแบบคืออาลปนนามและอาลปนะนิบาต
           1.อาลปนนามนาม ได้แก่ศัพท์ที่ประกอบด้วย สิ ,โย ปฐมาวิภัตติ ซึ่งใช้ในอรรถอาลปนะ ออกเสียงสำเนียงอายตนิบาตว่า แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่  เช่น ปุริส (ดูก่อนบุรุษ),สามิ (ข้าแต่นาย),ภิกฺขเว (ดูก่อนภิกษุ ท.) เช่น 
           อหํ  ธมฺมํ โว  ภิกฺขเว  เทเสสฺสามิ  ดูก่อนภิกษุ ท. อ. เรา จักแสดงซึ่งธรรม แก่เธอ ท.  
           สามิ  เอโก ปุตฺโต ชาโต  ข้าแต่นาย อ. บุตร คนหนึ่ง เกิดแล้ว
           2. อาลปนะนิบาต เช่น อมฺโภ   (ดูก่อนท่านผู้เจริญ) ,ภนฺเต (ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ),อาวุโส (ดูก่อนท่านผู้มีอายุ)ภเณ  (แน่ะพนาย), เร (เว้ย) เช่น 
           กนิฏฺฐภาตา  เม อตฺถิ ภนฺเต  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ. น้องชายผู้น้อยที่สุด ของข้าพเจ้ามีอยู่
ถ้าหากอาลปนะนามนาม และอาลปนะนิบาต มาร่วมในประโยคเดียวกัน ให้แปลอาลปนะนามนามก่อน และแปลอาลปนะนิบาตทีหลัง เช่น
           ตฺวํ  วเทหิ  ตาว อาวุโส ปาลิต  แนะปาลิตะ ผู้มีอายุ  อ.ท่าน จงกล่าวก่อน

2. นิบาตต้นข้อความ
           บาตมีหลายหมวดกำหนดให้แปลต่อจากอาลปนะ นิบาตเช่น กิร,ขลุ,สุทํ หนฺท,ตคฺฆ, อิงฺฆ,อาม,อามนฺตา,สเจ, เจ,อถ,ยทิ,ยนฺนูน,อปฺเปวนาม,หิ,จ,ปน,ตุ,อถโข,อถวา,อโห ฯลฯ เช่น
           อยฺโย ปน ภนฺเต กุหึ คมิสฺสติ   ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ อ. พระผู้เป็นเจ้า จักไป ณ ที่ไหน
           ศัพท์เป็นอัพยยะคือนิบาตและปัจจัย  บางเหล่า  ไม่ต้องแจกวิภัตติอย่างใดอย่างหนึ่ง  เรียงลงตามรูปศัพท์เดิมเช่นสเจ ปาปํ  น  กเรยฺยาสิ,  สุขํ  ลภิสฺสสิ  ถ้า เจ้า  ไม่พึงทำ  ซึ่งบาป  เจ้าจักได้ซึ่งสุข
           นิบาตที่เป็นต้นข้อความ  มักเรียงไว้เป็นศัพท์ที่ 2  ในข้อความอันนั้น  เช่น   กุหึ  ปน  ตฺวํ  วสสิ   ก็   เจ้า  อยู่ที่ไหน เป็นต้น 
       
3. บทกาลสัตตมี 
           แบ่งออกเป็น 3 อย่างคือ กาลสัตตมีนามนาม,กาลสัตตมีนิบาต, กาลสัตตมีสัพพนาม
           1.กาลสัตตมีนามนาม  ได้แก่ศัพท์จำพวกที่เกี่ยวกับ กาล,เวลา,ขณะ,วัน,เดือน,ปี เป็นต้น เช่น 
           กาเล ในกาล,สมเย ในสมัย, ทิวเส ในวัน,มาเส ในเดือน, สํวจฺฉเร ในปี, ขเณ ในขณะ,ตํขณํ ในขณะนั้นเทสนาวสาเน ในกาลจบเทศนา,อตีเต ในกาลเป็นที่ล่วงไปแล้ว,ปุพฺเพ ในกาลก่อน, ตํทิวสํ  ในวันนั้น เช่น
           ตสฺมึ  สมเย สตฺถา ปริสมชฺเฌ  ธมฺมํ เทเสติ     ในสมัยนั้น อ. พระศาสดา ย่อมทรงแสดง ซึ่งธรรม ในท่ามกลางบริษัท
 ตํทิวสํ  นฬการเชฏฐกสฺส  เวฬุนา อตฺโถ โหติ  ในวันนั้น อ. ความต้องการ ด้วยไม้ไผ่ ย่อมมี แก่บุคคลผู้กระทำซึ่งไม้ไผ่ผู้เจริญที่สุด 
           2.กาลสัตตมีนิบาต ได้แก่ศัพท์ที่เป็นกาลสัตตมีที่สำเร็จรูปขึ้นเองโดยไม่ต้องประกอบด้วยวิภัตติ เช่น อถ ครังนั้น, ปาโต  ปาตํ  ในเวลาเช้า, สายํ ในเวลาเย็น,สุเว ในวัน,หิยฺโย ในวันวาน,เสฺว  ในวันพรุ่ง,สมฺปติ ในบัดเดี๋ยวนี้, อายตึ ในกาลต่อไป เช่น
           อถ สพฺเพว ชนา ปพฺพชฺชํ ยาจึสุ   ครั้งนั้น อ.ชน ท. ทั้งปวงเทียว ทูลขอแล้ว ซึ่งการบวช
           เสฺว  ภนฺเต อมฺหากํ ภิกฺขํ    คณฺหถ  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในวันพรุ่ง อ. ท่าน ท. ขอจงรับ ซึ่งภิกษาของดิฉัน ท.  
           3.กาลสัตตมีสัพพนาม  ได้แก่สัพพนามที่นำไปประกอบด้วยปัจจัยท้ายนาม ลงแล้วเป็นเครื่องหมายสัตตมีวิภัตติใช้เกี่ยวกับกาลเวลา 7 ตัวนี้คือ ทา,ทานิ,รหิ,ธุนา,ทาจนํ,ชฺช ชฺชุ รูปสำเร็จ เช่น ยทา ในกาลใด,ตทา ในกาลนั้น,เอตรหิ ในกาลบัดนี้,อิทานิ ในกาลนี้,อชฺช  ในวันนี้ เช่น
           ตทา  สาวตฺถิยํ สตฺต มนุสฺสโกฏิโย วสนฺติ   ในกาลนั้น อ. โกฏิแห่งมนุษย์ ท. เจ็ด ย่อมอยู่ในเมืองชื่อว่าสาวัตถี
           อชฺช  ภนฺเต โอกาโส นตฺถิ  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในวันนี้ อ. โอกาส ย่อมไม่มี
           อิทานิ ตํ อิตฺถึ  อนฺธํ กริสฺสามิ   ในกาลนั้น อ. เรา จักกระทำ ซึ่งหญิงนั้นให้บอด

4.  บทประธาน   คือศัพท์ที่ประกอบด้วย สิ,โย ปฐมาวิภัตติ  ศัพท์ที่ใช้เป็นประธานในประโยคได้คือ 
           1. นามนาม เช่น ปรุโส (อ.บุรุษ), กญฺา (อ.นางสาวน้อย),กุลานิ( อ.ตระกูล ท.) เป็นต้น  เช่น เต ภิกฺขู เถรํ ขมาเปตฺวา อนฺโตคามํ ปวิสึสุ  อ. ภิกษุ ท.เหล่านั้น ยังพระเถระ ให้อดโทษแล้ว เข้าไปแล้ว สู่ภายในแห่งบ้าน ฯ  
           2. ปกติสังขยา ตั้งแต่ เอกูนสตํ (99) ขึ้นไปเป็นนามนาม แปลเป็นประธานได้เช่น สตํ อ.ร้อย   สตานิ  อ. ร้อย ท. เช่น 
           อถสฺสาหํ “เอตฺตกานิ สตานิ วา สหสฺสานิ วา สตสหสฺสานิ วาติ น สกฺกา คณนาย ปริจฺฉินฺทิตุนฺติ วทามิ ฯเปฯ   ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ อ. เรา ย่อมกล่าว แก่พราหมณ์นั้นว่า อันใครๆไม่อาจ เพื่ออันกำหนด ด้วยการนับว่า อ. ร้อย ท. หรือ หรือว่า อ.พัน ท. หรือว่า อ.แสน ท. อันมีประมาณเท่านี้ ฯลฯ
           3. ปุริสสัพพนาม  เช่น โส (อ.ท่าน), เต (อ.ท่าน ท.)  อหํ, มยํ  ตฺวํ,ตุมฺเห  เช่น ตุมฺเห  ปน สามิ  ข้าแต่นาย ก็ อ.ท่าน ท. เล่า,
มยํ อิมินา กญฺเหิ น รญฺโ อุยฺยานํ คจฺฉาม  เรา ท. ไปอุทยานกับหญิงสาว ท.
           อหํ  ปุรตฺเถน อาทิจฺจํ  ปสฺสาม  ข้า ดูพระอาทิตย์ทางทิศตะวันออก ทลิทฺทสฺส ขโร อาพาโธ อุปชฺชติ,  โส มุหุตฺเตน  มรติ  อาพาธหนักเกิดขึ้นแก่คนเข็ญใจ  เขาเสียชีวิตในขณะนั้น 
           4. นามกิตต์ มีทั้งที่แปลเป็นนามและคุณนาม เช่น ทายโก (อ.ทายก), สาวโก (อ.สาวก),กรณํ (อ.การกระทำ) เช่น  
           อาจริย มยฺหํ โทโส นตฺถิ ข้าแต่อาจารย์ อ. โทษ ของกระผม ย่อมไม่มี
           5. กิริยากิตต์ มีปัจจัยที่ใช้เป็นนามนามได้มีอยู่ 3 ตัวคือ อนีย,ตพฺพ,ต ปัจจัย เช่น พุทฺโธ โลเก อุปปนฺโน  อ. พระพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ฯ
           6. บทสมาส เช่น มหาเถโร (อ.พระมหาเถระ),นตฺภิปูโว (อ.ขนมไม่มี),ปตฺตจีวรํ (อ.บาตรและจีวร) เช่น 
           เตน มยฺหํ จิตฺตสุขํ นาม น โหติ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า อ.ความสบายแห่งจิต ของข้าพเจ้า ย่อมไม่มี
           7. บทตัทธิต  เช่น สามเณโร (อ.สามเณร),  สหายตา (อ.ประชุมแห่งสหาย) เช่น  อตฺถิ โกจิ ภติเกน อตฺถิโก  อ.บุคคลผู้มีความต้องการ ไร ๆ ด้วยบุคคลผู้รับจ้าง มีอยู่หรือ
           8. บทพิเศษ  แปลเป็นประธานได้บ้าง เช่น เอวํ (อ. อย่างนั้น),  ตถา (อ.เหมือนอย่างนั้น) อลํ (อ.พอละ), ตุ   (อ อัน), อชฺช  (อ.วันนี้), สกฺกา (อ.อันอาจ)เป็นต้น เช่น เอวํ กิร  ภิกฺขเว  ได้ยินว่า อ. อย่างนั้น, สตฺถา อลํ  เอตฺตเกน  อิมสฺสาติ  ปกฺกามิ.   พระศาสดาตรัสแก่บุคคลนั้นว่า อ. พอละ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ หลีกไปแล้ว

5. บทที่เนื่องด้วยประธาน
           คือบทที่แปลหรือสัมพันธ์เข้ากับตัวประธานทั้งสิ้น เช่น บทวิเสสนะ, บทคุณนาม,สัพพนาม ที่มีลิงค์, วจนะ ,วิภัตติ เสมอกับตัวประธาน หรือบทอื่นๆ ที่ประกอบฉัฏี วิภัตติ,สัตตมีวิภัตติ หรือศัพท์หรือบทที่สามารถสัมพันธ์เข้ากับ บทประธานได้ ก็เป็นตัวเนื่องด้วยประธานทั้งสิ้น มีกฎว่าคุณนามของนามนามบทใด  ต้องมีลิงคะ  วจนะ  วิภัตติเหมือนลิงคะ  วจนะ  วิภัตติ  ของนามนามบทนั้น เรียงไว้หน้านามนามบทนั้น  เช่น  อุจฺโจ  รุกฺโข  ต้นไม้สูง,  อจฺเจ  รุกฺเข  สกุณา นกทั้งหลาย  บนต้นไม้สูง,  สุคนฺธํ ปุปฺผํ  ดอกไม้หอม, นีลานํ  ปุปฺผานํ  ราสิ  กองดอกไม้เขียว, สุคนเธ  ปุปฺเผ  ภมโร  แมลงผึ้งในดอกไม้หอม, วิสาลํ  เขตฺตํ   นากว้าง, สุกฺกสฺส  โอทนสฺส ปาตี ถาดแห่งข้าวสุกขาว, อญฺญตโร ภิกฺขุ คามํ ปิณฺฑาย ปวิฏฺโฐ  อ. ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเข้าไปแล้วสู่บ้านเพื่อบิณฑะ
           ถ้าเกี่ยวเนื่องกับสังขยามีกฎอยู่ว่า เอกศัพท์ซึ่งเป็นสังขยา  เป็นเอกวจนะอย่างเดียว  ตั้งแต่ทฺวิ  จนถึง  อฏฺารส  เป็นพหุวจนะอย่างเดียว  ตั้งแต่เอกูนวีสติ ถึง  อฏฺนวุติ  เป็นเอกวจนะ  อิตถีลิงค์อย่างเดียว  แม้เข้ากับศัพท์ที่เป็นพหุวจนะลิงค์อื่น  ก็คงอยู่อย่างนั้น  ไม่เปลี่ยนไปตาม  เช่น เอโก  ชโน  ชน ผู้เดียว, เทฺว  ชนา  ชนทั้งหลาย  2,  ปญฺจตฺตึสาย ชนานํ  ลาโภ  อุปฺปนฺโน  ลาภ  เกิดขึ้นแล้ว  แก่ชนทั้งหลาย,อฏฺนฺนํ  ภควโต  สาวกานํ  สมุโห หมู่แห่งสาวกของพระพุทธเจ้า, จตฺตาโร  ภิกฺขู  คามํ  ปิณฺฑาย  ปวิฏฺา  ภิกฺษุสี่รูปเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต,
           ตีณิ  อุปลานิ  อุทเก  ชาตานิ  ดอกบัวสามดอกเกิดในน้ำ,เอกูนวีสติ  นาริโย  นหานาย  นทึ  คตา  หญิงสิบเก้าคน ไปสู่แม่น้ำเพื่ออาบน้ำ, เอกํ  ผลํ  รุกฺขา  ปติตํ   ผลไม้หนึ่งลูกตกจากต้นไม้, สตฺต  อิสโย  นครา  นิกฺขนฺตา  ฤษีเจ็ดรูปออกจากเมือง, เตวีสติยา กุมารานํ อาจริโย คามํ ปวิฏฺโ  อ. อาจารย์ ของกุมาร ท. 23 เข้าไปแล้วสู่บ้าน 
           ปุริสสัพพนาม  ประถมบุรุษ   ใช้แทนนามนามบทใดต้องมีลิงคะ  และวจนะ  เหมือนลิงคะและวจนะของนามนามบทนั้น ส่วนวิภัตตินั้น  เหมือนกันก็ได้  ต่างกันก็ได้  เช่น  เอโก  อุยฺยาเน  รุกฺโข,  โส  วาเตน  ปหโต,  ตสฺส  ปณฺณานิ  ปติตานิ.  ต้นไม้  ในสวน  ต้นหนึ่ง ต้นไม้นั้น  อันลม  กระทบ แล้ว,   ใบทั้งหลาย  ของต้นไม้นั้น  หล่นแล้ว
           เต,  เม,  โว,  โน,  มัธยมบุรุษ  และอุตตมบุรุษสัพพนามนั้น  ต้องมีบทอื่นนำหน้าก่อน  จึงใช้ได้  เช่น  อาจริโย โน  อาจารย์  ของข้า  ท.  อยนฺเต  ปตฺโต  นี้  บาตร  ของเจ้า
          วิเสสนสัพพนาม  ของนามนามบทใด  ต้องมีลิงคะ วจนะ  วิภัตติ  เหมือนลิงคะ  วจนะ  วิภัตติ  ของนามนามบทนั้น เรียงไว้ข้างหน้าแห่งนามนามบทนั้น   ดังนี้  ยสฺมึ  ภควติ  มยํ อภิปฺปสนฺนา,  ตํ  ภควนฺตํ  สรณํ  คตา.  เรา  ท.  เลื่อมใสยิ่งแล้วในพระผู้มีพระภาค  ใด   เรา  ท.  ถึงแล้ว  ซึ่งพระผู้มีพระภาคนั้นเป็นที่ระลึก  
           ถ้าไม่นิยมนามนาม  เป็นแต่นิยมลิงค์เท่านั้น  จะไม่เรียงนามนามไว้ด้วยก็ได้  ดังนี้  ยสฺส  ลาโภ  อุปฺปนฺโน,  ตสฺส อลาโภ  อุปฺปนฺโน.   ลาภ  เกิดขึ้นแล้ว  แก่ผู้ใด,  ความไม่มีลาภ  เกิดขึ้นแล้ว  แก่ผู้นั้น.  ยสฺสา   ปุตฺโต  ชาโต,  สา  ตุฏฺา.  บุตรของหญิงใด  เกิดแล้ว   หญิงนั้น  ยินดีแล้ว

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก