ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

         งานประจำปีวัดมัชฌันติการาม วงศ์สว่าง ในปีพุทธศักราช 2556 เริ่มต้นขึ้นแล้วโดยถือเอาวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีเป็นวันเริ่มงานและจะสิ้นสุดในวันมาฆบูชา  วัดมัชฌันติการามชาวบ้านนิยมเรียกวัดน้อย เริ่มสร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2417 จนถึงปัจจุบัน พุทธศักราช 2556 มีเจ้าอาวาสมาแล้วหลายรูป จากรูปแรกที่ได้ชื่อว่าเป็นบุรพาจารย์ผู้ก่อตั้งวัดบูรณะสวนผลไม้ที่ชาวบ้านถวายเพื่อเป็นที่พักสงฆ์ที่จรมาจากทิศทั้งสี่  จนกลายมาเป็นวัดในปัจจุบัน  ชาวบ้านนิยมเรียกอดีตเจ้าเจ้าอาวาสรูปแรกว่า “หลวงปู่” จนมาถึงเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ชาวบ้านเรียกว่า “ท่านเจ้าคุณ” เวลา 139 ปีมีเจ้าอาวาสมาแล้ว 8 รูป

        แต่ละวัดมักจะจัดงานใหญ่ประจำปีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ถือว่าเป็นงานใหญ่ ส่วนงานอื่นๆแม้จะมีแทรกบ้างแต่ก็เป็นงานเล็กๆไม่ใหญ่นัก งานประจำปีย่อมต้องจัดหลายวัน วัดมัชฌันติการามจัดงานประจำปีเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่อดีตเจ้าอาวาสและบูรพาจารย์ที่เคยอยู่จำพรรษาในอาวาสแห่งนี้ งานนี้เน้นที่การปิดทองอดีตเจ้าอาวาสรูปแรกที่มรณภาพไปแล้วเก้าสิบเก้าปี งานจัดติดต่อกัน 10 วัน 10 คืน
         เริ่มงานวันแรกขึ้น 7 ค่ำเดือน 3 ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556 ในภาคมีการทำบุญอุทิศกุศลทักษิณานุปทานถวายแด่อดีตเจ้าอาวาสทุกรูป ส่วนภาคค่ำมีการละเล่นต่างๆ ตามลักษณะและรูปแบบของงานวัดทั่วไป และยังมีการแสดงของนักเรียนวัดมัชฌันติการามและการแสดงของนักร้องชื่อดังอีกมามาย มีให้ชมทุกวัน

         ตามประวัติวัดมัชฌันติการามสร้างมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2417 โดยเจ้าจอมมารดาเที่ยง เจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 4 เป็นผู้ให้การอุปถัมภ์ และสร้างวัดสำเร็จบริบูรณ์ในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเป็นองค์ประธานในการผูกพัทธสีมา และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดมัชฌันติการาม” ปัจจุบันมีเจ้าอาวาสมาแล้วเจ็ดรูป ปัจจุบันเป็นรูปที่แปดคือ “พระพุทธิสารโสภณ (พระมหา ดร.เดช กตปุญฺโญ)” เป็นเจ้าอาวาส        
          คำว่า “มัชฌันติก” มาจากคำนามเพศชายในษาบาลีว่า “มชฺฌนฺติก” แปลว่า เที่ยงวัน บวกกับคำว่า “อาราม” เป็นคำนามเพศชายในภาษาบาลีที่แปลว่า “ความยินดี ความพอใจ สวน อุทาน อาราม” คำบางคำมีความหมายหลายอย่าง อารามในที่นี้น่าจะแปลว่าสวนหรืออาราม เพราะบริเวณที่เป็นวัดและรอบๆวัดในอดีตคือสวนผลไม้ของชาวบ้าน วัดตั้งอยู่ท่ามกลางสวนของชาวบ้าน แต่ปัจจุบันสวนได้เปลี่ยนเป็นหอพักนักศึกษา เป็นบ้านจัดสรรไปเกือบหมดแล้ว

        ในยุคแรกมีเจ้าจอมมารดาเที่ยงเป็นผู้ริเริ่มในการบูรณะซึ่งเชื่อกันว่าเคยเป็นวัดเก่ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ชาวบ้านนิยมเรียกวัดนี้ว่า “วัดน้อย” ซึ่งคู่กับวัดที่ตั้งอยู่ในอีกซอยถัดไปคือ “วัดหลวง” แต่ปัจจุบันวัดหลวงได้เป็นวัดร้างไปแล้ว จึงเหลือแต่วัดน้อยเป็นวัดฝ่ายธรรมยุตวัดเดียวในเขตบางซื่อ
         วัดน้อยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีหลายวัดเช่นวัดน้อยนางหงษ์ วัดน้อยนพคุณ วัดน้อยชมภู่ วัดน้อยใน หากไม่ระบุที่ตั้งมักจะเข้าใจผิดเสมอ บางครั้งบอกรถโดยสารว่าวัดน้อย อาจจะไปโผล่ที่วัดน้อยใน ตลิ่งชัน หาทางกลับลำบากยิ่งเป็นวันที่รถติดจะต้องผ่านถนนจรัลสนิทวงศ์ ที่กำลังมีการก่อสร้างทางด่วนหรืออะไรสักอย่าง ต้องเสียเวลาโดยใช่เหตุ ดังนั้นหากจะมาวัดมัชฌันติการามหรือวัดน้อย ต้องบอกเส้นทางว่า “วัดน้อยพระรามเจ็ด” หรือ “วัดน้อยวงศ์สว่าง ซอย 11” อย่างนี้เดินทางถึงจุดหมายแน่นอน

         พระครูธรรมสารวิจิตร (หลวงปู่อ่อน ญาณเตโช) เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกในช่วงปีพุทธศักราช 2440-2457 แต่หลวงปู่อ่อนมาอยู่จำพรรษาตั้งแต่เริ่มบูรณะวัดในปีพุทธศักราช 2417 และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปีพุทธศักราช 2440 หลวงปู่อ่อนเป็นศิษย์สำนักเรียนเดียวกันกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ชาวบ้านจึงนับถือหลวงปู่ในฐานะของเกจิอาจารย์รูปหนึ่ง
         หลวงปู่อ่อนมีชื่อเสียงเลื่องลือในทางเมตตามหานิยมและขมังเวทย์ และสร้างเครื่องรางของขลังไว้หลายรุ่น ปัจจุบันเป็นของหายากแล้วเช่นตระกรุดโทน กระดูห่าน  เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่อ่อนเป็นต้น วัดมัชฌันติการามได้สร้างรูปหล่อหลวงปู่อ่อนไว้ภายในวิหารหลวงปู่ ในแต่ละวันจะมีคนมาสักการะกราบไหว้ไม่ขาด ชาวบ้านต่างก็เล่าลือกันว่าหากใครบนบานศาลกล่าวอะไรไว้มักจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์เช่นสอบเข้าทำงาน ขอให้เรียนสำเร็จก็มักจะไม่ค่อยพลาด แต่สิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านระมัดระวังเป็นพิเศษคือการบนว่าขอให้ไม่ถูกเกณฑ์เป็นทหาร  ใครที่มาบนบานไว้อย่างนั้นมักจะจับได้ใบแดงถูกเกณฑ์เป็นทหารแทบทุกราย นัยว่าหลวงปู่อ่อนชอบทหารและตำรวจเป็นพิเศษ

        การทำบุญอุทิศให้กับบุรพาจารย์ที่เคยพำนักในอารามนั้น จัดเป็นผู้ที่มี “กตัญญูกตเวทิตาธรรม”  อันเป็นเครื่องหมายของคนดี” มีบาลีแสดงไว้ในพุทธศาสนสุภาษิตว่า “นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา ความกตัญญูกตเวที  เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี” หากรู้ว่าใครที่มีบุญคุณที่เคยทำไว้ก่อนแล้ว กระทำตอบแทนแทน จึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนดี หากคนนั้นยังมีชีวิตอยู่ก้กระทำให้ท่านสะบายใจ หากท่านเสียชีวิตไปแล้วก้ควรทำบุญอุทิศไปให้ "ยามอยู่ให้เลี้ยงกาย ยามตายเลี้ยงวิญญาณ" ส่วนท่านจะได้รับหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่สำคัญเราได้ทำ หากบุญไม่ถึงผู้รับ บุญนั้นก็จะย้อนกลับมาหาผู้ทำ
          บุพการีและกตัญญูกตเวทีเป็นบุคคลที่หาได้ยากในโลกดังที่มีแสดงไว้ใน อังคุตตรนิกาย ทุ กกนิบาต(20/364/81) ความว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลสองจำพวกนี้หาได้ยากในโลกคือบุพพการีบุคคล  กตัญญูกตเวทีบุคคล”

        สมัยที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ ศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศ จะมาร่วมงานวันครบรอบเกิดของหลวงปู่อ่อน ญาณเตโชในวันขึ้น 7 เดือน 3 ของทุกปี ว่าหลวงปู่จะมรณภาพไปนานเก้าสิบเก้าปีแล้ว ทางวัดจึงได้ถือเอาวันคล้ายวันเกิดของอดีตเจ้าอาวาสเป็นวันจัดงานประจำปี ติดต่อกันมาทุกปี ในแต่ละปีก็จะเป็นการรวบรวมปัจจัยเพื่อใช้ในการบูรณะวัดตามแต่ความจำเป็น
         ใครที่มีเวลาว่างจะมาร่วมงานขอเชิญได้ มีทุกอย่างให้ได้ชมเช่นภาพยนตร์ ดนตรี มหรสพสมโภชตลอดงาน ทำบุญสร้างพระประจำวันเกิด ไถ่ชีวิตโคกระบือ บริจาคโรงศพให้แก่ศพไร้ญาติ เป็นต้น ในวันสุดท้ายของงานคือวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556 ตรงกับวันมาฆบูชา มีพิธีเวียนเทียนเนื่องในวันมาฆบูชาด้วย ใครสะดวกในวันเวลาไหนขอเชิญเที่ยวงานได้ตามอัธยาศัย

         คิดถึงคำโบราณที่ว่า “เกิดมาทั้งทีให้สร้างดีเอาไว้ จะตายทั้งทีให้ฝากดีเอาไว้” หลวงปู่อ่อน ญาณเตโช อดีตเจ้าอาวาสวัดมัชฌันติการามเป็นตัวอย่างของสุภาษิตนั้น เพราะแม้จะล่วงลับดับขันธ์ไปตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2457 นับถึงปัจจุบันเป็นเวลานานกว่า 99 ปีแล้ว ประชาชนคนทั้งหลายก็ยังรู้จัก นั่นเพราะคุณงามความดีที่หลวงปู่สร้างไว้เป้นอนุสรณ์ให้ลูกหลานได้รับรู้ เช่นพระอุโบสถก็ยังเป็นหลังเก่าตั้งแต่ครั้งที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ การมีชีวิตอยู่เพื่อผู้อื่นคนจะจดจำได้นาน ส่วนการมีชีวิตอยู่เพื่อตนเองไม่นานคนก็จะลืม
         เวลากาลผ่านไป 139 ปี กับการสร้างวัด และ 99 ปีของการมรณภาพหลวงปู่อ่อน ญาณเตโชอดีตเจ้าอาวาสรูปแรก วัดมัชฌันติการามมีเจ้าอาวาส 8 รูป มีพระเถระที่เคยจำพรรษาในอารมแห่งนี้และมีชื่อเสียงเป็นเจ้าคณะรากฎหลายรูปเช่นเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด เจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธรรมยุต)

        หลวงปู่อ่อนมรณภาพไป 99 ปี แต่คนก็ยังรู้จักและจดจำได้ เพราะจัดงานทุกปี ส่วนเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันผู้คนก็จะจดจำไปอีกนานเพราะท่านพระเจ้าอาวาสรูปแรกที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “เจ้าคุณ” รูปแรกของวัดในรอบ 139 ปี เจ้าอาวาสรูปแรกเป็นหลวงปู่ ส่วนเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันเป็นเจ้าคุณ

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
02/18/56

 

ดูภาพการทำบุญงานประจำปี 2556

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.486737484697015.101738.454958224541608&type=1

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก