ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

     วันวาเลนไทน์ วันแห่งความรัก ปีนี้กระแสแรงเพราะประชาชนทั่วโลกรับรู้และมีส่วนร่วม ดอกกุหลาบอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักหลายหลากมากสีปรากฏโฉมในวันนี้  หลายคนกำลังมองว่าจะมอบกุหลาบให้กับใครสักคน เว็บมาสเตอร์ไซเบอร์วนารามปีนี้มองหาดอกกุหลาบยังไม่พบยังไม่มีใครให้ดอกกุหลาบ คงแก่เกินวัยที่จะมีใครให้ดอกกุหลาบแล้ว อยู่ในวัยที่ใกล้จะได้ดอกไม้จันทน์แล้ว ลองสืบค้นคำสอนในพระไตรปิฎกที่ว่าด้วยความรัก มีแสดงไว้ที่ไหน เล่มใดบ้าง จึงได้ข้อมูลมาพอสมควร ยังค้นไม่หมด ในวันแห่งความรักปีนี้ของเชิญอ่านเพื่อเป็นคติเตือนใจสำหรับผู้ที่กำลังมีความรักและสำหรับผู้ที่กำลังมองหาความรัก

เหตุเกิดความรัก

         โก นุ โข ภควา เหตุ        เอกจฺเจ อิธ ปุคฺคเล  
อตีว หทยํ นิพฺพาติ                  จิตฺตญฺจาปิ ปสีทติ ฯ  

         ปุพฺเพว สนฺนิวาเสน         ปจฺจุปฺปนฺนหิเตน วา  
เอวนฺตํ ชายเต เปมํ                  อุปฺปลํว ยโถทเกติ ฯ
                                                                 สาเกตชาตกํ   (27/323-324/91)


       คำแปล:ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหตุไรหนอ เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้พอเห็นกันเข้าก็เฉยๆ หัวใจก็เฉย บางคนพอเห็นกันเข้า จิตก็เลื่อมใส    
      ความรักนั้นย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุสองประการ คือ ด้วยการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ด้วยความเกื้อกูลต่อกันในปัจจุบัน เหมือนดอกอุบลและชลชาติ เมื่อเกิดในน้ำย่อมเกิดเพราะอาศัยเหตุสองประการ คือ น้ำและเปือกตมฉะนั้น
                                               สาเกตชาดก  ขุททกนิกาย ชาดก (27/323-324/91)

ความรักมักมากับความโศก


         เปมโต ชายตี โสโก      เปมโต ชายตี ภยํ           
เปมโต วิปฺปมุตฺตสฺส     
         นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ
     ความโศกย่อมเกิดแต่ความรัก ภัยย่อมเกิดแต่ความรัก ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษแล้วจากความรัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน


         ปิยโต ชายตี โสโก        ปิยโต ชายตี ภยํ 
ปิยโต วิปฺปมุตฺตสฺส      
          นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ
         ความโศกย่อมเกิดแต่ของที่รัก  ภัยย่อมเกิดแต่ของที่รัก ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจากของที่รัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน
                                                     ปิยวรรค ขุททกนิกาย ธรรมบท (25/26/30)


มีรักมักมีทุกข์
    

         ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ       อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํ     
         การไม่เห็นสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก และการเห็นสัตว์หรือสังขารอันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์
         หรือสำนวนคนรุ่นใหม่จะแปลว่า “ไม่ได้พบหน้าคนที่รักแสนเจ็บปวด แต่อยู่ใกล้ที่ไม่ได้รักเจ็บปวดยิ่งกว่า ยิ่งใกล้ยิ่งเจ็บ มีรักมีทุกข์”
                                                         ปิยวรรค ขุททกนิกาย ธรรมบท (25/26/30)

หลักธรรมของคู่ชีวิต
       อากงฺเขยฺยุํ เจ ภิกฺขเว อุโภ ชานิปตโย ทิฏฺเฐ เจว ธมฺเม อญฺมญฺญํ ปสฺสิตุํ อภิสมฺปรายญฺจ เม    อญฺมญฺญํ ปสฺสิตุํ อุโภว อสฺสุ สมสทฺธา สมสีลา สมจาคา สมปญญา เม อญฺมญฺญํ ญาเต  ทิฏฺเฐ   เจว ธมฺเม เม อญฺมญฺญํ ปสฺสนฺติ อภิสมฺปรายญฺจ เม อญฺมญฺญํ   ปสฺสนฺตีติ ฯ 

         คำแปล:พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภรรยาและสามีทั้งสองพึงหวังพบกันและกันทั้งในปัจจุบัน และในสัมปรายภพ ทั้งสองเทียวพึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกันภรรยาและสามีทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ”
            อุโภ สทฺธา วทญฺญู จ        สญฺญตา ธมฺมชีวิโน   
            เต โหนฺติ ชานิปตโย          เม อญฺมญฺญํ ปิยํ วทา   
            อตฺถา สมฺปจุรา โหนฺติ        ผาสุกํ อุปชายติ  
            อมิตฺตา ทุมฺมนา โหนฺติ       อุภินฺนํ สมสีลินํ    
            อิธ ธมฺมํ จริตฺวาน              สมสีลพฺพตา อุโภ  
            นนฺทิโน เทวโลกสฺมึ           โมทนฺติ กามกามิโนติ ฯ  

         คำแปล: ภรรยาและสามีทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของขอ มีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรม เจรจาคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก     มีความผาสุก ทั้งสองฝ่ายมีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อกันประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์ เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ในเทวโลก ฯ
                                                   สมชีวิสูตร อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต (21/56/72)

 

ตนเป็นที่รักของตน

         นตฺถิ ปุตฺตสมํ เปมํ          นตฺถิ โคสมิกํ ธนํ 
นตฺถิ สุริยสมา อาภา      
         สมุทฺทปรมา สราติ ฯ  
         นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ          นตฺถิ ธญฺญสมํ ธนํ 
นตฺถิ ปญฺญฺาสมา อาภา   
        วุฏฺฐิ เว  ปรมา สราติ ฯ

         คำแปล:     เทวดาทูลถามว่า “ความรักเสมอด้วยความรักบุตรไม่มี ทรัพย์เสมอด้วยโคย่อมไม่มี แสงสว่างเสมอด้วยดวงอาทิตย์ย่อมไม่มี สระทั้งหลายมีทะเลเป็นอย่างยิ่ง ฯ
         พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  “ความรักเสมอด้วยความรักตนไม่มี ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี ฝนต่างหากเป็นสระยอดเยี่ยม ฯ
                                                    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค  (15/28-29/8)

รู้ว่าตนเป็นที่รักไม่ควรทำชั่ว


         อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา         น นํ ปาเปน สํยุเช                
น หิ ตํ สุลภํ โหติ                 
         สุขํ ทุกฺกฎการินา
         ถ้าบุคคลพึงรู้ว่าตนเป็นที่รัก ไม่พึงประกอบด้วยบาป เพราะว่าความสุขนั้นไม่เป็นผลที่บุคคลผู้ทำชั่วจะพึงได้โดยง่าย ฯ
                                 ปิยสูตรที่ 4 สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ไทย  (15/336/91)


 

คาถาในปิยวรรค: ว่าด้วยความรัก

         1.อโยเค ยุญฺชมตฺตานํ     โยคสฺมิญฺจ อโยชยํ 
อตฺถํ หิตฺวา ปิยคฺคาหี      
         ปิเหตตฺตานุโยคินํ ฯ        
         2. มา ปิเยหิ สมาคญฺฉิ     อปฺปิเยหิ กุทาจนํ 
ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ       
         อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํ  
         3. ตสฺมา ปิยํ น กยิราถ     ปิยาปาโย หิ ปาปโก 
คนฺถา เตสํ น วิชฺชนฺติ     
         เยสํ นตฺถิ ปิยาปฺปิยํ ฯ  
         4. ปิยโต ชายตี โสโก      ปิยโต ชายตี ภยํ 
ปิยโต วิปฺปมุตฺตสฺส        
         นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ  
         5. เปมโต ชายตี โสโก    เปมโต ชายตี ภยํ 
เปมโต วิปฺปมุตฺตสฺส       
         นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ  
         6. รติยา ชายตี โสโก      รติยา ชายตี ภยํ 
รติยา วิปฺปมุตฺตสฺส        
         นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ  
         7.กามโต ชายตี โสโก     กามโต ชายตี ภยํ
กามโต วิปฺปมุตฺตสฺส       
         นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ           
         8.ตณฺหาย ชายตี โสโก    ตณฺหาย ชายตี ภยํ 
ตณฺหาย วิปฺปมุตฺตสฺส       
        นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ  
         9.สีลทสฺสนสมฺปนฺนํ         ธมฺมฏฺฐํ สจฺจวาทินํ  
อตฺตโน กมฺมกุพฺพานํ       
         ตญฺชโน กุรุเต ปิยํ ฯ  
        10.ฉนฺทชาโต อนกฺขาเต    มนสา จ ผุโฐ สิยา 
กาเม   จ อปฏิพทฺธจิตฺโต 
         อุทฺธํโสโตติ วุจฺจติ ฯ  
         11. จิรปฺปวาสึ ปุริสํ          ทูรโต โสตฺถิมาคตํ 
ญาตี มิตฺตา สุหชฺชา จ     
         อภินนฺทนฺติ อาคตํ  
        12. ตเถว กตปุญฺญมฺปิ        อสฺมา โลกา ปรํ คตํ  
ปุญฺญานิ ปฏิคณฺหนฺติ        
         ปิยํ ญาตีว อาคตํ ฯ  
                                         

                                             ปิยวรรค ขุททกนิกาย ธรรมบท (25/26/30)
 

คำแปล
       1. บุคคลประกอบตนในกิจที่ไม่ควรประกอบ และไม่ประกอบตนในกิจที่ควรประกอบ ละประโยชน์เสีย มักถือเอาสัตว์หรือสังขารว่าเป็นที่รัก ย่อมทะเยอทะยานต่อบุคคลผู้ประกอบตามตน
      2.บุคคลอย่าสมาคมแล้วด้วยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก หรือด้วยสัตว์หรือสังขารอันไม่ เป็นที่รัก ในกาลไหนๆเพราะการไม่เห็นสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก และการเห็นสัตว์หรือสังขารอันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
   3.เพราะเหตุนั้นบุคคลไม่พึงทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก เพราะการพลัดพรากจากสัตว์  และสังขารอันเป็นที่รัก ลามกกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ไม่มีสัตว์และสังขารอันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก
     4.ความโศกย่อมเกิดแต่ของที่รักภัยย่อมเกิดแต่ของที่รัก ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้ว จากของที่รัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน
     5.ความโศกย่อมเกิด แต่ความรัก ภัยย่อมเกิดแต่ความรัก ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษแล้ว จากความรัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน
     6. ความโศกย่อมเกิดแต่ความยินดี  ภัยย่อมเกิดแต่ความยินดี ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจากความยินดี ภัยจักมีแต่ที่ไหน
     7.ความโศกย่อมเกิดแต่กาม ภัยย่อมเกิดแต่กามความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจากกาม ภัยจักมีแต่ที่ไหน
     8.ความโศกย่อมเกิดแต่ตัณหา ภัยย่อมเกิดแต่ตัณหาความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจากตัณหา ภัยจักมีแต่ที่ไหน
     9.ชนย่อมกระทำบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและทัศนะผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีปกติ กล่าวคำสัจ ผู้ทำการงานของตน ให้เป็นที่รัก
     10.ภิกษุพึงเป็นผู้มีความ พอใจในนิพพานอันใครๆบอกไม่ได้ เป็นผู้อันใจถูกต้อง และเป็นผู้มีจิตไม่เกี่ยวเกาะแล้วในกาม ภิกษุนั้นเรากล่าวว่าผู้มีกระแสในเบื้องบน
     11.ญาติมิตร และเพื่อนผู้มีใจดี ย่อมชื่นชมต่อบุรุษผู้จากไปสิ้นกาลนานกลับมาแล้วโดยสวัสดี แต่ที่ไกล ว่ามาแล้ว
     12.บุญทั้งหลาย ย่อมต้อนรับ แม้บุคคลผู้ทำบุญไว้ ซึ่งจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น ดุจญาติต้อนรับญาติที่รักผู้มาแล้ว ฉะนั้น ฯ

                                                              ปิยวรรค ขุททกนิกาย ธรรมบท (25/26/30)


 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
รวบรวม
14/02/56

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก