ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

            ฝนพึ่งขาดช่วงได้ไม่กี่วัน พลันสายลมหนาวก็เริ่มมาเยือน กรุงเทพมหานครเมืองที่ไม่ค่อยจะรู้จักกับความหนาว เพราะปีหนึ่งมีเพียงสองฤดูคือฤดูร้อนและฤดูฝน ก็พลันได้พานพบกับความหนาวเย็น ซึ่งการมาเยือนอย่างไม่ได้คาดคิดมาก่อนแบบนี้มีผลทำให้คนที่มีภูมิคุ้มกันน้อยต้องป่วยอย่างกระทันหัน ความเจ็บป่วยเกิดขึ้นได้โดยไม่เลือกว่าจะเป็นชาวบ้านหรือพระภิกษุสามเณร ทุกชีวิตมีสิทธิ์เจ็บป่วยได้เท่าเทียมกัน เป็นสิทธิ์ที่ได้มาแต่กำเนิด 
            พระภิกษุสามเณรก็มีสิทธิ์ในการเจ็บป่วยเหมือนกัน ยิ่งในช่วงที่น้ำท่วมการสัญจรลำบาก พระสงฆ์หลายรูปป่วยในช่วงปลายฝนต้นหนาวนี้มาก เมื่อเจ็บป่วยก็ต้องดูแลรักษา แม้จะมีโรงพยาบาล มีแพทย์ที่เชี่ยวชาญ แต่ทว่าก็ยังมีโรคบางอย่างที่รักษาไม่หายรอวันถึงวาระสุดท้ายอย่างแสนเศร้าใจ ทุกวันนี้นี้คนที่รู้ตัวว่าป่วยและอยากหายมีเป็นจำนวนมาก แต่มีคนส่วนหนึ่งไม่รู้ตัวว่ากำลังป่วย ทั้งๆที่กำลังป่วยหนัก พวกเขาเป็นไข้ใจซึ่งไม่แสดงอาการให้ใครเห็น แต่หมักหมมอยู่ภายใน โรคทางกายพอรักษาให้หายได้บ้าง แต่โรคทางใจนั้นต้องค่อยๆเยียวยา

            ในพระพุทธศาสนาได้แสดงถึงคนป่วยสามประเภทดังที่ปรากฎในคิลานสูตรอังคุตรนิกาย ติกนิบาต(20/461/115)ความว่า “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนไข้สามจำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลกคือ(1) คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้เภสัชที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้อุปัฏฐากที่สมควรหรือไม่ได้ก็ตามย่อมไม่หายจากอาพาธนั้นได้เลย (2)คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้เภสัชที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้อุปัฏฐากที่สมควรหรือไม่ได้ก็ตามย่อมหายจากอาพาธนั้นได้ (3)คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะที่สบายจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้เภสัชที่สบายจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้อุปัฏฐากที่สมควรจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย” 
            คนไข้ทั้งสามประเภทนั้นสรุปได้สั้นๆว่า “รักษาไม่หาย  รักษาก็หายไม่รักษาก็หายได้เอง และได้ยาเหมาะถูกกับโรคจึงรักษาหาย”  
            คนไข้ประเภทแรกอาจจะมาจากกรรมในอดีตชาติก็ได้ แม้จะพยายามรักษาอย่างไรก็ไม่หาย หรือโรคบางอย่างเพียงแต่ทำให้ทะเลาเบาบางลงเท่านั้น แทบทุกคนมักจะมีโรคประเภทที่รักษาไม่หายอย่างน้อยหนึ่งชนิด บางคนหนัก บางคนเบาแล้วแต่กรรมของใครของมัน เป็นโรคประเภทที่รักษาไม่มีทางหายขาด คนป่วยประเภทนี้ต้องปล่อยให้โรคประจำตัวตายไปพร้อมกับลมหายใจสุดท้าย  มีโรคหลายชนิดที่คนป่วยแล้วรักษาไม่หายคือโรคเอดส์และโรคมะเร็ง ใครป่วยแล้วน่าเศร้าใจมาก
           ส่วนคนป่วยประเภทที่สองมีเป็นจำนวนมากส่วนมากจะหายได้เอง เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกาย ประเภทที่สามต้องพึ่งแพทย์หากได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องก็มีทางรักษาให้หายขาดได้
            การสวดมนต์บางครั้งทำให้หายป่วยได้ ดังที่มีปรากฎในคิลานสูตรอีกสูตรหนึ่ง ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรค (19/415/106) ความว่า สมัยหนึ่งท่านพระมหากัสสปอาพาธไม่สบาย เป็นไข้หนัก อยู่ที่ปิปผลิคูหา พระพุทธเจ้าตึงได้เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามท่านพระมหากัสสปว่าดูกรกัสสป เธอพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาคลายลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบขึ้นไม่ปรากฏแลหรือ 

            ท่านพระมหากัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกเวทนาของพระองค์กำเริบหนัก ยังไม่คลายไป ความกำเริบขึ้นย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ        
           พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า ดูกรกัสสป โพชฌงค์เจ็ดประการคือสติสัมโพชฌงค์  ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์   วิริยสัมโพชฌงค์   ปีติสัมโพชฌงค์  ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์  สมาธิสัมโพชฌงค์  อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เหล่านี้ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน 
            เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงโพชฌงคปริตจบลง ท่านพระมหากัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์ดีนัก ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์ดีนัก พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหากัสสปปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค ท่านพระมหากัสสปหายจากอาพาธนั้นแล้ว และอาพาธนั้นอันท่านพระมหากัสสปละได้แล้ว
           สารสำคัญของโพชฌงค์ทั้งเจ็ดประการนั้นสรุปได้ดังนี้ 
            1. สติ หมายถึงความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง  คนมีสติอยู่กับตัวจะไม่หลงลืม แต่การฝึกสตินั้นมีวิธีฝึกมากมายหลายวิธี แต่จะทำอย่างไรก็แล้วแต่ ขอให้ระลึกได้ก็ชือว่าเป็นคนมีสติ
            2. ธัมมวิจยะ หมายถึงความเฟ้นธรรม, ความสอดส่องสืบค้นธรรม หาธรรมะที่เหมาะกับจริตนิสัยของตน ครูบาอาจารย์บางท่านจะมีธรรมะประจำใจของแต่ละคน บางคนรักษาเพียงสัจจะอย่างเดียวก็สามารถเข่าถึงสวรรค์ได้ 
            3. วิริยะ หมายถึงความเพียรความพยายามไม่ท้อถอย มุ่งมั่นกระทำกิจการงานต่างๆด้วยคว่ามพยายาม งานทางจิตก็ไม่ท้อถอย บางคนเพียรพยายามปฏิบัติธรรมตลอดอายุขัย
            4. ปีติ หมายถึงความอิ่มใจ
            5. ปัสสัทธิ หมายถึงความสงบกายสงบใจ
            6. สมาธิ หมายถึงความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
            7. อุเบกขา หมายถึงความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง
            ธรรมทั้งเจ็ดประการรวมเป็นองค์ประกอบเดียวกัน ทุกข้อมีความสำคัญเท่ากัน หากสังเกตดูให้ดีจะเห็นว่าธรรมหมวดนี้ผู้ยึดถือปฏิบัติจะทำให้ทั้งร่างกายและจิตใจมีความสมดุลกันพอดี สติอย่างเดียวก็มีคุณมหาศาลแล้ว เมื่อรวมเข้าด้วยกันทั้งเจ็ดประการย่อมจะมีคุณเป็นเอนกประการ มีโพชฌงค์อยู่ในใจก็เหมือนมีหมออยู่ใกล้หากเจ็บป่วยด้วยโรคภัยเมื่อใดต้องทำใจให้มีธรรมะนี้ไว้ เมื่อจิตใจอยู่ใกล้ธรรมก็เหมือนมีน้ำชโลมกาย

            การรักษาไข้ในสมัยพุทธกาลนอกจากจะมีแพทย์ดีนามว่าหมอชีวโกมารภัจแล้วยังมียาดีที่เรียกว่ายาดองด้วยน้ำมูตรเน่า (ผลสมอหรือมะขามป้อมดองด้วยน้ำปัสสาวะ)  พระสงฆ์จึงไม่ค่อยป่วยไข้เพราะป้องกันไว้ก่อน แต่ปัจจุบันน้ำมูตรเน่าอันเป็นยาดีที่พระพุทธเจ้าอนุญาตไว้ไม่ค่อยมีพระสงฆ์รูปใดทำแล้ว นอกจากวัดป่าบางแห่ง เพราะมีโรงพยาบาลที่ทันสมัย แต่ทำไมคนจึงป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกวัน 
            ปัจจุบันนี้พระสงฆ์ในประเทศไทยนิยมสวดโพชฌังคปริตรในงานต่างๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล แต่ในสมัยพุทธกาลพระสูตรนี้ใช้สวดเพื่อรักษาคนไข้ ดังกรณีของพระมหากัสสปะและพระมหาโมคคัลลานะก็หายป่วยด้วยโพชฌงค์เหมือนกัน พระพุทธเจ้าเคยบอกว่าผู้ใดพยาบาลภิกษุไข้ ผู้นั้นได้ชื่อว่าอุปัฏฐาก(ดูแล,รับใช้)พระพุทธเจ้าดังที่ปรากฎในพระวินัยปิฎก มหาวรรค (5/166/178) ความว่าผู้ใดจะพึงอุปัฏฐากเรา(ตถาคต) ผู้นั้นจงพยาบาลภิกษุอาพาธ” ทุกวันนี้พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปนานแล้ว หากใครอยากจะเป็นผู้ได้ชื่อว่าอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ก็จงดูแลรักษาพยาบาลพระสงฆ์ที่ป่วยไข้เถิด  
            แม้จะรักษาสุขภาพร่างกายอย่างดีขนาดไหนก็ตามแต่เจ้าความเจ็บป่วยก็ยังเกิดขึ้นได้ทุกเวลาเพราะร่างกายของมนุษย์ที่แท้คือรังของโรค ผุพัง (โรคนิทฺธํ ปภงฺคุณํ) กายของตนอันเปื่อยเน่าจะแตกเพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด การจากไปของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุขัย จะหนุ่ม สาว หรือแก่ชราทุกคนก็มีสิทธิ์เท่าเทียมกัน เพราะพยามัจจุราชคอยตามเราอยู่ตลอดเวลา 


พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
01/11/53

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก