ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

      การศึกษาเรียนรู้มักจะถูกจำกัดอยู่กับคนที่อายุน้อยต้องศึกษาเรียนรู้วิชาต่างๆไว้เพื่อจะได้นำไปประกอบอาชีพการงาน ทำมาหากินเพื่อการดำเนินชีวิตที่ดี พอถึงช่วงวัยหนุ่มสาวส่วนมักก็มักเรียนจบมีงานทำ ชีวิตจึงเปลี่ยนจากเรียนเป็นการทำงาน จนแทบจะไม่มีเวลาศึกษาหาความรู้ในศาสตร์ใหม่ๆ สิ่งที่ได้ศึกษาส่วนหนึ่งเป็นศาสตร์เกี่ยวกับการทำงาน จนกระทั่งเมื่ออายุมากขึ้นก็ไม่อยากจะเรียนรู้อะไรอีกแล้ว ถ้าช่วงปลายของชีวิตยังพอมีเงินมีฐานะก็ไม่เป็นไร มีเวลาเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ เป็นชีวิตที่อยู่ในช่วงที่เรียกว่า “วันพัก”


      เมื่อชีวิตดำเนินมาถึงวัยพัก แต่ยังอยากจะเดินทางท่องเที่ยวไปยังประเทศต่างๆ บางครั้งอยู่ในประเทศนั้นๆนานๆสิ่งที่สำคัญนอกการการเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณี ของท้องถิ่นๆนั้นๆ ก็ต้องรู้ภาษาของท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย อย่างน้อยที่สุดให้พอสื่อสารทำความเข้าใจได้ แม้จะมีภาษาที่เรียกว่าภาษากลางที่พอจะสื่อสารได้บ้าง แต่สำหรับคนท้องถิ่นบางครั้งภาษาที่เป็นทางการอาจจะสื่อสารกันไม่รู้เรื่องก็ได้ ภาษาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งใช้ติดต่อสื่อสารกันเข้าใจ คนภายนอกเผ่าพันธุ์อาจจะฟังไม่รู้เรื่องเลยก็ได้ แม้แต่ภาษาที่ใช้สื่อสารกันได้เกือบทั้งโลกคือภาษาอังกฤษ สำเนียงภาษาของแต่ละท้องถิ่นก็ไม่เหมือนกัน บางครั้งก็สื่อสารกันไม่รู้เรื่อง แม้จะอยู่ในวัยพัก แต่หากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ชีวิตก็เป็นเหมือนการเริ่มต้นใหม่

va03

 
      เคยเชื่อมั่นในภาษาอังกฤษของตัวเองว่าพอจะสื่อสารกับชาวโลกเขาเข้าใจได้ แม้จะไม่ถึงระดับที่ต้องกล่าวสุนทรพจน์หรือประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติก็ตามทีเถิด แต่ก็พอเดินทางคนเดียวไปยังประเทศต่างๆได้หลายประเทศ พอจะสื่อสารกับคนอื่นๆเข้าใจอยู่บ้าง แม้แต่ภาษาอังกฤษสำเนียงอินเดียที่ว่าฟังยาก ก็ยังพอจะสื่อสารกันได้ ฟังไปฟังมากับเป็นเรื่องง่าย คงเพราะความเคยชินที่เคยเดินทางไปอินเดียมาหลายครั้ง ฟังออก พูดได้ ไม่ค่อยมีปัญหา
      แต่พอมาถึงเมืองแองโคเรจ รัฐอลาสก้า ได้ยินคนพูดภาษาอังกฤษแล้ว ได้แต่ทำหน้างงๆ ว่าเขาพูดภาษาอะไรกัน สำเนียงห้วนๆสั้นๆ บางครั้งก็ตัดส่วนใดส่วนหนึ่งออกไปซะอย่างนั้นเช่น คำว่า “Ancholage” เราก็ออกเสียงว่า “แองโคเรจ” ตามตัวอักษร คนเมืองนี้กลับทำหน้างุนงง ถามกลับว่า คุณพูดว่าอะไรนะ เน้นย้ำหลายครั้งก็ยังไม่เข้าใจ จึงต้องเขียนสะกดให้ดู เขาร้องอ๋อและอ่านออกเสียงคล้ายๆกับว่า “แองคริด” ประมาณนี้ ไม่มีเสียง “โค” หรือ “คอ” ให้ได้ยินเลย ไม่ให้งงจะให้ว่าอย่างไร
      มีเรื่องที่ทำให้เข้าใจผิดอีกคำหนึ่งว่า “Seward” ลุงคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เขาบอกว่าพรุ่งนี้จะพาไป “สวด” ก็เตรียมทบทวนบทสวดต่างๆที่เคยเล่าเรียนมา อย่างน้อยคงพอจะ “สวด” กับได้บ้าง แต่พอถึงตอนเช้า นั่งรถตั้งหลายชั่วโมงก็ยังไม่ได้ “สวด” สักที จนกระทั่งเดินทางไปถึงสถานที่ปลายทาง เตรียมลงเรือ เขาบอกว่าถึงแล้ว “สวด” เมื่อถามว่า “สวดที่ไหน” เข้าชี้ไปที่ป้ายเมื่องที่เขียนว่า “Seward” ถ้าอ่านออกเสียงตามความเคยชินก็ต้องอ่านว่า “ซีเวิร์ด” แต่เมื่อพูดตามสำเนียงของคนเมืองนี้จึงฟังเป็น “สวด”
      นี่แค่ชื่อเมืองภาษาที่สนทนากันประจำวัน ก็กลายเป็นเรื่องที่ฟังยาก เข้าใจยาก ภาษาอังกฤษที่เคยเรียนมาต้องเก็บไว้ชั่วคราว แล้วพยายามออกเสียงให้เหมือนกับคนเมืองนี้ จะได้สื่อสารกับคนอื่นรู้เรื่อง
      ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องไปเรียนภาษาอังกฤษใหม่ เริ่มต้นด้วยการทดสอบทักษะทางด้านภาษาอังกฤษทั้งสี่ประการคือ พูด ฟัง อ่าน เขียน อันนี้ว่าตามบททดสอบ คือครูจะให้สนทนาเบื้องต้นก่อนเช่นจะถามว่า “คุณชื่ออะไร มาจากไหน มาทำอะไรในประเทศนี้ อยู่นานเท่าใด คุณจะเรียนภาษาอังกฤษไปทำไม” แต่ละคนก็พูดภาษาอังกฤษตามสำเนียงประเทศของตน ครูสอนก็มีความเป็นกัลยาณมิตรสูงมาก พยายามให้กำลังใจ พยายามฟัง พูดช้าๆ ครูสอนก็พยายามถามไปเรื่อยๆ ถ้าฟังไม่ออกครูสอนก็จะพูดช้าๆ ซ้ำๆหลายรอบ

va06

 


      จากนั้นจึงให้ทำแบบทดสอบ มี 60 ข้อ เริ่มต้นด้วยการฟัง ครูจะเปิดเสียงคำสนทนาให้ฟังจากนั้นก็ให้ตอบคำถามว่า เขากำลังพูดเรื่องอะไร ที่ไหน ใครพูดกับใคร
ต่อมาจึงเป็นเรื่องของไวยากรณ์ ประธาน กับกริยาแบบไหนจะใช้ร่วมกันได้ ประธานเอกพจน์ กริยาจะต้องเติม “s” เสมอ การใช้คำนำหน้า “ a an the” ประโยคที่เป็นปัจจุบัน อดีต อนาคต ต้องใช้กริยาอย่างไร ถ้าเป็น ปัจจุบันกาล อดีตกาล หรืออนาคตกาลธรรมดาก็ไม่ยากอะไร แต่พอมาถึงประเภท perfect หรือ perfect continuous tense อันนี้ก็ต้องใช้ “verb to doa (เดา)” เพราะในชีวิตจริงไม่ค่อยได้ใช้เท่าไหร่นัก
      บททดสอบสุดท้ายเป็นการ “อ่าน” เนื้อเรื่องแล้วทำความเข้าใจ จากนั้นจึงตอบคำถาม พอไปได้ เนื้อหาไม่ยากเท่าใด จากนั้นก็จะการให้เขียนบ้าง เช่นคิดคุณอย่างไรในเรื่องนี้ หรือคุณมีเหตุผลอย่างไรในการเรียนภาษาอังกฤษ จงอธิบายสภาพรัฐอลาสก้าตามที่คุณเห็น
      บททดสอบวันแรกจะออกมาประมาณนี้ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที เป็นการเสร็จภารกิจในการเข้าทดสอบเรียนวันแรก สถานะความรู้เมื่อรวมครบทุกทักษะแล้ว……อยู่ระดับกลางๆ
      เดินออกจากโรงเรียนรู้สึกมึนหัว เพราะใช้ทั้งสายตาและความคิดเพื่อตอบคำถาม เป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่า ตัวเราเองเริ่มแก่ชรามากแล้ว เพราะสิ่งที่เคยง่ายก็กลายเป็นเรื่องยาก สิ่งที่เคยจำได้ก็ลืมเลือน เหมือนสมุดบันทึกที่เลอะเลือนเพราะถูกน้ำซึมแทรกเข้าในเนื้อหา วันนี้เริ่มต้นเป็นนักเรียนอีกครั้งในวัยหกสิบกลางๆ ทำได้เท่าที่ทำ อย่างน้อยก็หาอะไรทำพอแก้เหงาได้บ้าง มีคำสุภาษิตโบราณบทหนึ่งที่เคยท่องตั้งแต่สมัยเป็นเด็กว่า “No one is too old to learn ไม่มีใครแก่เกินเรียน” ถ้าจะเริ่มเรียนก็ไม่ต้องเอาอายุหรือสังขารมาอ้าง ชีวิตเริ่มต้นใหม่ได้ แม้จะอยู่ในวัยชรา อายุมิใช่ปัญหา สังขารมิใช่ข้ออ้าง หากจะเริ่มต้นทำอะไรให้รีบทำ วันคืนไม่คอยท่า เวลาไม่คอยใคร

 

พระมหาบุญไทย ปุญญมโน
21/08/67

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก