ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

       ยามเช้าที่แสงแดดส่องผ่านพ้นมาจากยอดไม้ ลมพลิ้วแผ่วผ่านนำความเย็นแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย ช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงฤดูร้อน แต่ทว่าอากาศของเมืองนี้ แม้จะเป็นหน้าร้อนอุณหภูมิก็ยังไม่เกิน 25 องศาเซ็นเซียส ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นอุณหภูมิอยู่ประมาณ 8-15 องศา และจะเพิ่มอัตราความร้อนขึ้นเรื่อยๆ ส่วนมากจะหยุดอยู่ที่ 15-20 องศา นานๆจึงจะทะลุถึง 25 องศาซึ่งก็น้อยมาก อากาศกำลังดี ไม่ได้อาศัยเครื่องทำความเย็น ช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมามีปรกติเป็นไปเช่นนี้ ที่นี่เมืองแองโคเรจ รัฐอลาสก้า สหรัฐอเมริกา 

       ขณะเดินเล่นผิงแดดอุ่น ก็เกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า “ข้าพเจ้ามาทำอะไรที่นี่” เมืองนี้มีอะไรดีจึงได้ตัดสินใจมาอยู่อาศัยที่นี่ หากจะบอกว่า “หนีร้อนมาพึ่งเย็น” ก็น่าจะเป็นคำตอบที่ชัดเจนที่สุด  เพราะเมืองที่จากมาอากาศร้อนถึงร้อนมากอุณหภูมิอยู่ที่ 30 องศาเซ็นเซียสขึ้นไป  ดังนั้นการดำเนินชีวิตในแต่ละวันจึงต้องพึ่งพาเครื่องทำความเย็น จึงพอจะบรรเทาความร้อนไปได้ ประเทศที่พึ่งจากมาจึงอยู่ในขั้นที่พอจะเรียกได้ว่า “เมืองที่อากาศร้อน”

       แต่พอมาถึงเมืองแองโคเรจซึ่งอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีอาณาเขตพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศไทยถึงสองเท่า แต่มีพลเมืองไม่ถึง 5 ล้านคน นับว่าน้อยมาก เมืองนี้มีสี่ฤดูคือฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว และฤดูใบไม้ผลิ  แต่หากจะแบ่งตามสภาพอากาศจริงจะมีเพียงสองฤดูคือฤดูหนาวมากอุณห๓มิติดลบถึงลบยี่สิบองศากับฤดูหนาวน้อย อุณหภูมิไม่เกิน 25 องศา ช่วงที่น่าอยู่ที่สุดก็คือช่วงฤดูหนาวน้อยนี่แหละ พอจะเดินไปไหนมาไหนได้สะดวก น่าจะเรียกได้ว่า "เมืองที่อากาศเย็น"

 

avd02

 

       จากชีวิตที่เคยอยู่ที่เมืองร้อนมายาวนาน แต่พอต้องมาอยู่อาศัยในเมืองที่มีแต่ความหนาว สภาพร่างกายก็ตองมีการปรับตัวให้อยู่ในประเทศนั้นๆได้ ในพระพุทธศาสนามีคำสอนเรื่องหนึ่งเรียกว่า “ปฏิรูปเทสวาส” แปลว่าการอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม มาจากคำบาลีสามคำคือ “ปฏิรูปะ” แปลว่า สมควรหรือเหมาะสม “เทสะ” แปลว่า ถิ่น สถาน บ้าน เมือง ประเทศ “วาสะ” แปลว่า การอยู่ การอาศัย ถิ่นที่เหมาะสมนั้นมีลักษณะที่สำคัญ 5 ประการ คือ 

       1.ถิ่นที่เป็นศูนย์กลาง คือถิ่นที่เป็นที่รวบรวมศิลปวิทยาการ วัฒนธรรมประเพณี  การคมนาคมสะดวก มีการเชื่อมโยงกับประเทศอื่น เมืองอื่นได้สะดวก แต่ลักษณะเมืองแบบนี้ แม้จะสะดวกแทบทุกอย่างก็มักจะมีการแข่งขันสูง ต้องแย่งที่ดินกันอยู่ แย่งคู่พิศวาส ต้องทำมาหากินที่จะต้องมีค่าตอบแทนให้เพียงพอกับการดำเนินชีวิต

       2.ถิ่นที่มีการประกอบอาชีพสะดวก อาชีพที่สุจริตหรือสัมมาอาชีพนั้น หากทำการให้เหมาะเจาะเหมาะสมก็ย่อมหาทรัพย์ได้ ดังพุทธภาษิตในอาฬวกสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (15/845/316) ความว่า “ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ” แปลว่า “บุคคลผู้ทำการเหมาะเจาะไม่ทอดธุระขยันหมั่นเพียร ย่อมหาทรัพย์ได้” 

       3.ถิ่นที่มีการศึกษาสะดวก ในอดีตสถานการศึกษามีน้อย สมัยพุทธกาลต้องเดินทางไกลไปเรียนยังสถาบันการศึกษาที่เรียกว่า “สำนักตักสิลา” เลือกเรียนได้หลายแบบ คือจะจ่ายค่าเล่าเรียนให้อาจารย์ก็ได้ หรือหากไม่มีเงินจะทำงานรับใช้อาจารย์เพื่อแลกกับวิชาที่อาจารย์จะถ่ายทอดให้ สมัยนั้นอาจารย์จะชำนาญในแต่ละวิชาไม่เหมือนกัน แต่ในสมัยปัจจุบันสถานการศึกษามีมากขึ้น หากปรารถนาจะศึกษาในสถาบันที่มีชื่อเสียงก็ต้องที่เมืองที่มีสถาบันการศึกษาตั้งอยู่ ใครที่เรียนจบจากต่างประเทศก้มักจะได้รับการชื่อถือที่สูงตามไปด้วย มักจะได้ทำงานที่ดี เรียกว่า “เลือกได้” 

       4.ถิ่นที่มีศาสนาประกาศสัจจธรรม เรื่องนี้ถ้าหากหมายถึงพระพุทธศาสนาก็ต้องเลือกประเทศที่มีการประกาศศาสนามาอย่างยาวนานเช่นไทย ศรีลังกา เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา ที่เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท หรือหากเป้นฝ่ายมหายานก็จะเป็นจีน ทิเบต เกาหลี ญี่ปุ่น ใครมีศรัทธาในฝ่ายไหนก็เลือกไปประเทศนั้น

       5.ถิ่นที่มีคนทรงศีลทรงธรรมทรงวิทยาคุณมาก หากจะเรียกสิ่งที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยในปัจจุบันก็บอกยอมรับว่า มีคนทรงวิทยาการมากมาย อยู่ในประเทศต่างๆ แต่คนเหล่านั้นจะเรียกว่า “คนทรงศีลทรงธรรม” ได้หรือไม่ต้องแยกกัน ในพระพุทธศาสนามีคำสอนอยู่เรื่องหนึ่งคือ “วิชฺชาจรณสมฺปนโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุเส” แปลว่า “ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและความประพฤติเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่มนุษย์และเทวดา

       หากจะเลือกไปอยู่ในปฏิรูปปเทส หรือถิ่นที่เหมาะสม ตามลักษณะทั้งห้าประการนั้น เมืองนี้แทบจะไม่มีคุณสมบัติข้อใดเรียกได้ว่ามีลักษณะของ “ปฏิรูปเทส” เลย หรือหากจะพอมีบ้างก็น้อยมาก

       ศูนย์กลางก็ไม่ใช่ อาชีพก็ไม่ค่อยสะดวก การศึกษาหรือก็มีมหาวิทยาลัยเพียงไม่กี่แห่ง วัดในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทก็มีเพียงสี่วัด รวมกันแล้วมีพระสงฆ์เพียง 15 รูป ผู้ทรงวิทยาคุณอาจจะมีอยู่มากมาย เพียงแต่ยังไม่ได้ศึกษาให้มากพอ สรุปว่าคำว่า “ปฏิรูปเทส” สำหรับชาวพุทธอาจจะใช้ไม่ได้กับเมืองนี้

 

avd09

 

       เมืองนี้มีทะเลล้อมรอบเหมือนเกาะที่ลอยอยู่กลางทะเล มีพรมแดนติดรัสเซียและแคนาดา ไม่มีส่วนของพื้นดินที่ติดกับสหรัฐอเมริกาเลย แต่ได้กลายเป็นรัฐที่ 49 ของอเมริกา เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2502 นับอายุถึงปัจจุบันก็มีอายุ 65 บริบูรณ์ ถ้าเป็นคนก็อยู่ในวัยชราแล้ว

       ข้าพเจ้ามาพักอยู่ที่รัฐนี้สองครั้งๆละหกเดือน หากนับเวลาที่อยู่อาศัยก็หนึ่งปีพอดี ปีนี้ย้อนกลับมาอีกครั้ง มิใช่ในฐานะแขกผู้มาเยือนเหมือนสองครั้งก่อน แต่ครั้งนี้เป็นเหมือนคนที่รู้จักและคุ้นเคยกับเมืองนี้ เคยผ่านช่วงที่มีกลางวันยาวนานหกเดือน และผ่านช่วงเวลากลางคืนติดต่อกันยาวนานหกเดือน ช่วงที่มีอากาศหนาวติดลบมากกว่า 20 องศาเซนเซียส แม้จะไม่ได้มีคุณสมบัติของคำว่า “ปฏิรูปเทส” ได้ครบถ้วน แต่บางครั้งการเลือกอยู่ในถิ่นที่อยากอยู่ แม้จะไม่ค่อยสะดวกนัก แต่หากอยู่แล้วสุขกาย สบายใจ ก็พอจะเรียกว่า “การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม” ได้เหมือนกัน
        เมืองแองโคเรจ รัญอลาสก้า แม้จะเป็นเมืองที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ไม่อาจจะเรียกว่า เป็น "ปฏิรูปเทส" ได้เต็มปาก เพราะมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน แต่อลาสก้าเมื่อได้มาเยือนแล้ว ทัศนียภาพน่าหลงใหล เป็นเมืองหนาวที่น่าอยู่อีกเมืองหนึ่ง  

 

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน

16/08/67

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก