ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

        กรุงเทพมหานครยังได้รับผลกระทบจากการชุมนุม บางแห่งยังมีควันไฟให้เห็น แม้ว่ารัฐบาลจะประกาศว่าได้ควบคุมสถานการณ์ได้หมดแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีผู้อาศัยสถานการณ์เผาสถานที่อีกหลายแห่ง ไม่เพียงแต่ในกรุงเทพฯเท่านั้น เหตุการณ์ยังลุกลามไปยังต่างจังหวัดอีกหลายจังหวัด ศาลากลางถูกเผา ธนาคารห้างสรรพสินค้าถูกเผาวอดวาย ทำไมคนไทยที่ได้ชื่อว่าสยามเมืองยิ้ม ไยต้องหันหน้ามาฆ่ากันเองด้วย คิดแล้วเศร้าใจ แม้จะพยายามไม่คิดแต่สถานการณ์ที่เห็นไม่อาจนิ่งเฉยได้ ใจมันไม่สงบ   
        วันนี้วันพระขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ขอเชิญฟังพระธรรมเทศนาสาราณิยธรรมสูตร บรรยายโดยพระเดชพระคุณพระเทพดิลก วัดบวรนิเวศวิหาร

 สาราณิยธรรมสูตร:โดยพระเทพดิลก
{mp3}saraniyadham{/mp3}

        คนเราหากจะอยู่ร่วมกันต้องมีเหตุปัจจัยหลายอย่างจึงจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ ในพระพุทธศาสนาได้แสดงหลักธรรมแห่งการอยู่ร่วมกันไว้หลายแห่ง ที่สำคัญประการหนึ่งเรียกว่า “สาราณิยธรรม” เป็นหลักการเบื้องต้นของการที่ทำให้คนเราคิดถึงกัน สามัคคีกันและอยู่ร่วมกันได้โดยไม่แตกแยก
        คำว่า “สาราณิยธรรม” หมายถึงธรรมเป็นที่ตั้ง เป็นเหตุ แห่งความให้ระลึกถึงกัน ธรรมให้เกิดความสามัคคี หลักการอยู่ร่วมกัน พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักการนี้ไว้ดังที่ปรากฎในสาราณิยสูตร อังคุตรนิกาย ฉักกนิบาต (22/282/267)ความว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาราณิยธรรมหกประการนี้ คือ(1)ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง  (2) ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณิยธรรม (3) ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง(4) ภิกษุแบ่งปันลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรมได้มาโดยธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้มีศีล (5) ภิกษุเป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย  เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฐิไม่ยึดถือเป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง (6)ภิกษุมีทิฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก นำออกไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลัง

        ข้อความจากพระไตรปิฎกมุ่งสอนพระภิกษุโดยตรง เพราะพระสงฆ์ในสมัยนั้นมาจากฐานะต่างกันบางรูปเป็นกษัตริย์ เป็นพ่อค้า เป็นกรรมกร เป็นขอทาน เพราะคนในสมัยนั้นยังยึดมั่นถือมั่นในวรรณะคือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ซึ่งแต่ละวรรณะต่างก็มีข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันเช่นคนในวรรณะศูทรไม่อนุญาตให้มองหน้าคนในวรรณะกษัตริย์และวรรณะพราหมณ์ได้ ต้องอยู่อย่างลำบาก ยิ่งคนที่เกิดในวรรณะจัณฑาลซึ่งเป็นคนนอกวรรณะแม้แต่เงาก็ไม่อนุญาตให้ถูกต้องทาบทับคนในวรรณะอื่นๆเป็นต้น 
        แต่เมื่อคนในวรรณะต่างกันมาอยู่ร่วมกันในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าจึงประกาศยกเลิกวรรณะ ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันภายใต้พระธรรมวินัยอันเดียวกันจึงได้แสดงหลักแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติขึ้นมาเป็นแนวทางแห่งการอยู่ร่วมกัน  
        ข้อความที่ปรากฎในพระไตรปิฎกสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับคนทั่วไปได้ เป็นหลักการเดียวกันซึ่งสามารถสรุปและอธิบายเป็นข้อๆก็จะได้เนื้อความดังต่อไปนี้
          1. เมตตากายกรรม คือช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมคณะด้วยความเต็มใจ แสดงกิริยาอาการสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
         2. เมตตาวจีกรรม คือการช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
          3. เมตตามโนกรรม คือการตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน
         4. สาธารณโภคี คือเมื่อได้สิ่งใดมาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อย ก็ไม่หวงไว้ผู้เดียว นำมาแบ่งปันเฉลี่ยเจือจาน ให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน

        5. สีลสามัญญตา คือมีความประพฤติสุจริตดีงาม ถูกต้องตามระเบียบวินัย ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ ข้อนี้สำหรับชาวบ้านถือว่ามีความสำคัญเพราะหากในหมู่คณะใดมีคนที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมอยู่ด้วยอาจจะทำให้เกิดความเสียหายไปทั้งหมู่คณะ
        6. ทิฏฐิสามัญญตา คือมีความเห็นชอบร่วมกัน ในข้อที่เป็นหลักการสำคัญที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น สิ้นทุกข์ หรือขจัดปัญหา ข้อนี้ก็สำคัญ เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทยช่วงนี้ก็มาจากความคิดเห็นที่ต่างกัน เมื่อความเห็นไม่ตรงกันจึงก่อให้เกิดการแบ่งแยกจากความคิดก็มุ่งสู่การทำลาย แม้จะอยู่ในระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน แต่อธิบายความไม่เหมือนกันก็ต้องแยกกันเดิน แต่จะเดินไปไหนกันในเมื่อยังอยู่ในแผ่นดินเดียวกัน

        สารณิยธรรมทั้งหกประการนี้ มีคุณคือเป็นสารณียะหมายถึงทำให้เป็นที่ระลึกถึง เป็นปิยกรณ์คือทำให้เป็นที่รัก เป็นครุกรณ์คือทำให้เป็นที่เคารพ  เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์คือความกลมกลืนเข้าหากัน  เป็นไปเพื่อความไม่วิวาท  เป็นไปเพื่อ ความสามัคคี และเป็นไปเพื่อความเป็นเอกีภาพคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 
        หากคนในชาติหันหน้าเข้าหากันโดยใช้หลักการของสาราณิยธรรมก็เป็นที่คาดคะเนได้ว่าสังคมย่อมมีความสงบสันติได้ แต่ภาพที่เห็นต่างฝ่ายต่างก็มีอาวุธในมือ จึงทำให้เกิดความเสียหายอย่างที่เห็น เมื่อมีอาวุธในมือธรรมะก็เลือนหาย


พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
21/05/53

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก