ในพระไตรปิฎกสังยุตตนิกาย สคาถวรรค ส่วนหนึ่งเป็นการที่พระพุทธเจ้าได้ตอบคำถามของเทวดาที่ได้เข้าเฝ้าและสอบถาม เทวดาบางองค์ก็เสนอความเห็นตามที่ตนเข้าใจ บางอย่างพระพุทธเจ้าก็เห็นด้วย แต่บางแห่งก็มีความเห็นแย้ง ดังเช่นในอัจเจติสูตร ในเบื้องต้นเทวดากับพระพุทธเจ้ามีความเห็นตรงกัน แต่ในประเด็นสุดท้ายมีความเห็นแตกต่างกัน ในวันนี้ทดลองนำเสนอด้วยภาษาที่แตกต่าง 4 ภาษาคือ ภาษาไทย ภาษาบาลี อักษรโรมัน และภาษาอังกฤษ ไว้ใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบ
อัจเจนติสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
(15/9-10/3-4)
ความเห็นของเทวดา
ภาษาไทย
[9] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
กาลทั้งหลายย่อมล่วงไป ราตรีทั้งหลายย่อมผ่านไป
ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป
บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ
พึงทำบุญทั้งหลายที่นำความสุขมาให้ ฯ
ภาษาบาลี
[9] เอกมนฺตํ ฐิตา โข สา เทวตา ภควโต สนฺติเก อิมํ คาถํ อภาสิ
อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย
วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ
เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน
ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานีติ ฯ
อักษรโรมัน
[9] Ekamantaṃ ṭhitā kho sā devatā bhagavato santike imaṃ gāthaṃ abhāsi
accenti kālā tarayanti rattiyo
vayoguṇā anupubbaṃ jahanti
etaṃ bhayaṃ maraṇe pekkhamāno
puññāni kayirātha sukhāvahānīti.
ภาษาอังกฤษ
……so standing, the deva spoke this verse before the Exalted One:-
The hours pass by. Nights drive us ever on.
Stages of light in turn abandon us:
Who so doth contemplate this fear of death,
Let him so act that merit brings him bliss.
ความเห็นของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าตรัสตอบเทวดาความว่า
ภาษาไทย
[10] กาลทั้งหลายย่อมล่วงไป ราตรีทั้งหลายย่อมผ่านไป
ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป
บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ
พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด ฯ
ภาษาบาลี
[10] อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย
วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ
เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน
โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโขติ ฯ
อักษรโรมัน
[10] Accenti kālā tarayanti rattiyo
vayoguṇā anupubbaṃ jahanti
etaṃ bhayaṃ maraṇe pekkhamāno
lokāmisaṃ pajahe santipekkhoti.
ภาษาอังกฤษ
The Exalted One says:-
The hours pass by. Nights drive us ever on.
Stages of light in turn abandon us:
Who so doth contemplate this fear of death,
Let him reject the bait of all the worlds,
Let him aspire after the final peace.
บทวิเคราะห์
ในอัจเจนติสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค คำว่า "กาล" คือเวลาที่ก้าวล่วงผ่านเลยไปในแต่ละวัน เข้า สาย บ่าย เย็น และราตรี หมุนไปเรื่อย หมดไปเรื่อย สิ้นราตรีหนึ่งก็แปเปลี่ยนเวียนเวียนกลับมาเป็นวันใหม่
ชีวิตของมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็เจริญวัยไปตามลำดับ ในพระพุทธศาสนาแสดงไว้สามวัยคือ (1) ปฐมวัย วัยเด็กวัยเริ่มต้น (2) มัชฌิมวัย วัยหนุ่มสาววัยกลางคน และ(3) ปัจฉิมวัย วัยชราวัยที่จะต้องก้าวเข้าสู่มรณภัย
ปฐมวัยจะหมดไปเมื่อบุคคลเข้าสู่มัชฌิมวัย ทั้งปฐมวัยและมัชฌิมวัยก็ย่อมหมดไปเช่นกันเมื่อบุคคลเข้าสู่ปัจฉิมวัย บางคนอาจจะอยู่ได้เพียงวัยเดียวหรือสองวัย เพราะอาจจะต้องเสียชีวิตก่อนจะหมดวัย บางคนตายตั้งแต่ยังเด็ก บางคนตายในวัยหนุ่มสาว บางคนตายในวัยชรา ภัยคือความตายไม่ได้เลือกว่าใครจะอยู่ในวัยไหน อาจตายได้ทุกเวลานาที บางคนประคองชีวิตอยู่ได้จนถึงปัจฉิมวัย อาจจะต้องเผชิญกับโรคาพยาธิมากมาย การที่ใครผู้ใดเกิดมาแล้วไม่มีโรคภัยเบียดเบียนนั้นนับว่าหาได้ยากยิ่ง
ความเห็นของเทวดา เสนอว่า เมื่อเข้าในในวิถีแห่งกาล เวลา วัย และภัยทั้งหลายอย่างนี้แล้ว ไม่ควรประมาทควรรีบเร่งในการทำบุญที่จะนำความสุขมาให้ เป็นความเห็นที่น่าสนใจ เพราะการที่เทวดาได้เกิดในกำเนิดของเทวดาก็ด้วยอานิสงส์หางบุญที่เคยกระทำมาแล้วในอดีตนั่นเอง ดังนั้น “บุญ” จึคงเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่เทวดาก็ไม่ได้บอกว่า การทำบุญนั้นทำอย่างไร
ในอุปเนยยสูตร ได้แสดงถึงวิธีการทำบุญไว้โดยสังเขปคือ
บทว่า "ปุญฺญานิกยิราถ สุขาวหานิ" ได้แก่ วิญญูชนพึงทำบุญทั้งหลายอันนำความสุขมาให้ คืออันให้ซึ่งความสุข. ด้วยเหตุนี้นั้น เทวดาหมายเอารูปาวจรฌานจึงถือเอาบุพเจตนา มุญจนเจตนาและอปรเจตนาแล้วกล่าวถึงบุญทั้งหลายด้วยสามารถแห่งคำพหูพจน์ และถือเอาความชอบใจในฌาน ความใคร่ในฌานและความสุขในฌานแล้ว จึงกล่าวว่า บุญทั้งหลายนำความสุขมาให้ ดังนี้
ได้ยินมาว่า เทวดานั้นได้มีความคิดว่า โอหนอ สัตว์ทั้งหลายเจริญฌานแล้ว มีฌานยังไม่เสื่อม กระทำกาละแล้ว พึงดำรงอยู่ในพรหมโลกตลอดเวลาอันยาวนาน คือประมาณ 1 กัปบ้าง 4 กัปบ้าง 8 กัปบ้าง 16 กัปบ้าง 32 กัปบ้าง 64 กัปบ้างดังนี้ เพราะตนเองเกิดในพรหมโลกที่มีอายุยาวนานจึงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้กำลังตาย กำลังเกิดที่มีอายุน้อยในเทวดาชั้นกามาวจรเบื้องต่ำ เช่นกับการตกลงแห่งเม็ดฝนพอถูกกระทบก็แตกไป เพราะฉะนั้น จึงกล่าวแล้วอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อได้ฟังถ้อยคำของเทวดา จึงทรงดำริว่า เทวดานี้ย่อมกล่าววัฏฏกถา (ถ้อยคำอันเป็นไปในวัฏฏะ) อันไม่เหมาะสม เมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏกถา (ถ้อยคำที่เป็นไปเหนือวัฏฏะ) แก่เทวดานั้น จึงตรัสพระคาถาที่ 2
พระดำรัสที่ตอบเทวดา เป็นการแสดงมรรควิธีที่ไม่ข้องเกี่ยวอยู่ในวัฏฏะคือโลกสันนิวาส แต่เป็นการแสดงกถาที่หลุดพ้นจากโลกคือวิวัฏฏะกถา ผู้ที่ยังปรารถนาที่จะอยู่ในโลกนี้ต้องทำบุญ ส่วนผู้ที่ต้องการหลุดพ้นจากโลกต้องละอามิส
คำว่า "อามิส" หมายถึงทรัพย์สมบัติ สิ่งของ เครื่องใช้ทั้งหลาย ท่านแสดงโลกามิส อามิสที่เป็นของชาวโลกไว้สองประการได้แก่(1)ปริยายโลกามิส (โลกามิสที่เป็นเหตุ) (2) นิปปริยายโลกามิส (โลกามิสที่ไม่เป็นเหตุ) วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3 เรียกว่าปริยายโลกามิส ปัจจัยคือเครื่องอาศัย 4 อย่าง เรียกว่านิปปริยายโลกามิส
ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาปริยายโลกามิส อันที่แท้ แม้นิปปริยายโลกามิสก็ควรในที่นี้เหมือนกัน เมื่อใดก็ตามหากละอามิสสมบัติได้แล้ว ก็สามารถมุ่งสู่ทางแห่งสันติสุขที่แท้ได้
ถ้ายังปรารถนาสมบัติในกามภูมิรวมทั้งโลกสวรรค์ ก็ต้องทำบุญให้ทานรักษาศีลตามสมควร ส่วนผู้ปรารถนาจะพัฒนาจิตให้ถึงจุดสูงสุดก็ให้ละอามิสทั้งหลาย จากนั้นจึงดำเนินไปสู่ทางแห่งสันติธรรม
พระมหาบุญไทย ปุญญมโน
08/08/65