ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

        ในอดีตวรรณกรรมที่มีคุณค่าทางพระพุทธศาสนามักจะเก็บรักษาไว้ในวัด เมื่อวัดถูกทำลายด้วยลัทธิป่าเถื่อนนอกศาสนา และเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมสลายลง วรรณกรรมพระพุทธศาสนาก็หายสาบสูญไปด้วย เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน วรรณกรรมพระพุทธศาสนามักจะเป็นภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ซึ่งนำมาจากศรีลังกา, พม่า,เนปาลและทิเบต ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีเยี่ยมและด้วยความเคารพนับถือในฐานะของธรรมเจดีย์อย่างหนึ่ง แต่การศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนานั้นมีคัมภีร์และวรรณกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาสมัยใหม่มากมาย จากหนังสือพระพุทธศาสนาในอินเดียยุคใหม่ได้รวบรวมไว้ดังต่อไปนี้


        การค้นคว้าวิจัยของนักปราชญ์ชาวตะวันตก โดยเฉพาะผลงานในยุคแรกๆของเซอร์วิลเลี่ยม โจนส์ (พ.ศ. 2289-2337) และเซอร์ เอ. คันนิ่งแฮม(พ.ศ. 2357-2436) ผู้ที่ขุดค้นเอาสิ่งที่มีคุณค่าอันประมาณมิได้ของพระพุทธศาสนาขึ้นมา และนำไปสู่การตื่นตัวในหมู่นักปราชญ์อินเดีย นักวิชาการอินเดียในยุคเริ่มต้นคือราเชนทรา ลาล มิตรา(พ.ศ. 2367-2434) ผลงานที่สำคัญชิ้นหนึ่งคือ “พุทธคยา” สถานศักดิ์สิทธิ์ของนักปราชญ์ศากยะ (พ.ศ.2420),วรรณกรรมพระพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตแห่งเนปาล(พ.ศ. 2425)และลลิตาวิสตาร(พ.ศ. 2430) ได้ปลุกเร้าในเกิดความสนใจในการศึกษาพระพุทธศาสนา อีกสองท่านในยุคบุกเบิกคือ หาร ประสาท ศาสตรีและสรัต จันทรา ดัส ทั้งสองท่านเป็นนักอรรถกถาจารย์หนุ่มในงานของราเชนทรา ลาล มิตรา ในขณะที่ เอช.พี. ศาสตรีให้ความสนใจในวรรณกรรมพุทธศาสนาภาษาสันสกฤต สรัส จันทรา ดัส เชี่ยวชาญพิเศษในด้านทิเบตศึกษา  ผลงานของท่านคือ “บัณฑิตอินเดียในแผ่นดินแห่งหิมะ” เขียนขึ้นครั้งแรกภายหลังที่เดินทางท่องเที่ยวในทิเบตได้เปิดมุมมองใหม่สำหรับนักวิชาการ ในปีพุทธศักราช 2435 เอส.ซี.ดัส,เอช.พี ศาสตรีและอีกหลายท่านได้ก่อตั้งสมาคมตำราทางพระพุทธศาสนาขึ้นที่กัลกัตตา ภายใต้เครื่องป้องกันคือสมาคมนี้ ตำราพระพุทธศาสนาส่วนหนึ่งที่ยังไม่มีใครเคยรู้จักก็ได้รับการพิมพ์เผยแพร่ งานที่สำคัญๆ เช่น: พุทธจรรยาวตารและวิสุทธิมรรค(ภาษาสันสกฤต,พิมพ์ครั้งแรกมีเพียง 2-3 บทเท่านั้น) โดยสรัส จันทรา ทัส, สวยัมภู-ปุรานะและอัสตะ-สหศรีกะ-ปรัชญา-ปารามิตา โดยหาร ประสาท ศาสตรี,และงานแปลมัธยมิกะ-วฤตติ ของจันทรเกียรติ (บางส่วน) โดยหริโมหัน วิทยาภูสาน
        นักวิชาการทางด้านภาษาบาลีคนแรกที่มีชื่อเสียงในอินเดียคือสาติสห์ จันทรา วิทยาภูสาน เป็นอินเดียคนแรกที่ได้รับปริญญาโทด้านภาษาบาลีจากมหาวิทยาลัยกัลกัตตาในปีพุทธศักราช 2444 ที่ได้เปิดภาควิชาพุทธศาสตร์ ที่ได้เป็นตัวอย่างในการสร้างสมาคมตำราพุทธศาสนาขึ้น และมหาโพธิสมาคม ดร. วิทยาภูสานมุ่งความสนใจไปที่พุทธตรรกวิทยาและปรัชญา ผลงานของท่านรวมถึงหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีของกัจจายนะโดยแปลเป็นภาษาอังกฤษ(พ.ศ.2450),พุทธ-สโตตระ-สันครหะ(พ.ศ.2451),นยายพินทุ (พ.ศ. 2460)และประวัติศาสตร์ที่สำคัญของตรรกวิทยาอินเดีย (พ.ศ. 2465) ความสนใจเป็นพิเศษของวิทยาภูสานในเรื่องเกี่ยวกับตรรกวิทยาและปรัชญาได้ทำให้เกิดการย้อนกลับมาศึกษาค้นคว้าวิจัยในพระพุทธศาสนา
        ดร. เบนี มธับ บารัว(พ.ศ. 2431-2491) เป็นนักวิชาการชาวอินเดียที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่ง ผู้ที่ส่งเสริมให้เกิดการศึกษาพุทธปรัชญา ผลงานชิ้นแรกของท่านคือ ประวัติศาสตร์ยุคก่อนพุทธปรัชญา ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ยุคก่อนพระพุทธศาสนาทำให้มองเห็นได้ชัดเจน ส่วนงานเขียนอื่นๆคืออาชีวิกและปรากฤตธัมมบท ดร.บารัวยังได้เขียนงานทางพระพุทธศาสนาที่ทรงคุณค่าอีกมากในด้านคำจารึกและประวัติศาสตร์ ดร. บี.ซี. ลอว์ เพื่อนร่วมงานที่ทรงคุณค่าของ ดร. บารัว มีผลงานที่น่าเชื่อถือมากกว่า 50 ชุด ผลงานของท่านในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาคือประวัติวรรณคดีบาลี 2 ชุด,พุทธโกศะ, การศึกษามหาวัสตุ,สตรีในวรรณกรรมพระพุทธศาสนา,ความคิดของพระพุทธศาสนา,และแปลพุทธวังศ์,จริยาปิฎก,กถาวัสถุ เป็นต้น
        นักวิชาการที่มีชื่อเสียงที่ประสบความสำเร็จอีกท่านหนึ่งคือศาสตราจารย์ บารัวเป็นหัวหน้าภาควิชาภาษาบาลีที่มหาวิทยาลัยกัลกัตตาและรุ่มรวยในการศึกษาภาษาบาลีคือ ดร. นาลินักสะ ทุตต์  ความเชื่อถือในการค้นหางานชุดที่ยิ่งใหญ่ของต้นฉบับคิลกิต และจัดพิมพ์ในชุดเดียวกัน 8 ชุด ผลงานที่มีคุณค่ามากที่สุดของท่านคือ “คุณลักษณะของพุทธศาสนามหายานและความสัมพันธ์กับหินยาน (พ.ศ. 2473) และวัดในพระพุทธศาสนายุคแรก  พิมพ์ 2 ชุด (พ.ศ. 2484-2488)  งานที่จัดพิมพ์ครั้งล่าสุดคือ “พุทธนิกายในอินเดีย” นับเป็นงานบันทึกที่ทรงคุณค่าด้วย ดร. นาลินักสะ ทุตต์ (พ.ศ. 2436-2516) ยังเป็นประธานกรรมการบริหารด้านการศึกษาของมหาโพธิสมาคมและวารสารมหาโพธิสมาคมแห่งอินเดียอีกด้วย
        นักวิชาการชาวอินเดียท่านแรกที่แนะนำภาษาบาลีในตัวอักษรเทวนาครีคือศาสตราจารย์ ธัมมนันทะ โกสัมพี(พ.ศ. 2419-2490) ในปีพุทธศักราช 2445 ท่านได้เดินทางไปที่ศรีลังกาอุปสมบทและศึกษาภาษาบาลีที่วิทโยทัยวิทยาลัยภายใต้การดูแลของพระหิกกาทุเว ศรี สุมังคล มหานายกเถระ จากปีพุทธศักราช 2455-2461 ท่านได้รับราชการเป็นอาจารย์สอนภาษาบาลีในเฟอร์กูสันวิทยาลัย ปูณา  ซึ่งเป็นพื้นฐานในการศึกษาภาษาบาลีในอินเดียตะวันตก พระธัมมนันทะ โกสัมพี ยังได้เขียนตำราทางพุทธศาสนาด้วยภาษามารธีและคูจราตีเป็นจำนวนมาก ผลงานที่ยิ่งใหญ่ของท่านคือการเป็นบรรณาธิการจัดพิมพ์วิสุทธมรรคเป็นภาษาเทวนาครีในปีพุทธศักราช 2483
        ศาสตราจารย์ เอ็น.เค. ภัควัต(พ.ศ. 2430-2505) ลูกศิษย์ที่มีคุณค่าของธัมมนันทะ โกสัมพี เป็นนักวิชาการด้านภาษาบาลีที่มีลักษณะพิเศษท่านหนึ่ง ได้จัดพิมพ์ตำราภาษาบาลีด้วยตัวอักษรภาษาเทวนาครี และจัดพิมพ์งานในลักษณะเดียวกันเพื่อประโยชน์ของมหาวิทยยาลัยบอมเบย์ งานที่สำคัญในชุดนี้คือนิทานกถา(ชาดก),มหาวังศะ, ทีฆนิกาย(ชุดที่ 1,2),มัชฌิมนิกาย เถรคาถา,เถรีคาถาและมหาวัคค์ 2 ชุด ศาสตราจารย์ภัควัต ยังได้แปลธัมมบท,ขุททกปทาและชาดกอีกจำนวนหนึ่ง
        ย้อนกลับมาที่ภาษาอินเดียยุคใหม่ เราพบว่าเริ่มต้นด้วยคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่แปลความโดยนักปราชญ์ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือมวลชนอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ก็มาจากวรรณกรรมที่เขียนในภาษาสมัยใหม่ที่เรียบง่ายและชาญฉลาด ผู้บุกเบิกในงานด้านนี้คือมหาบัณฑิตราหุล กฤตยยัน(พ.ศ. 2436-2506)พระเถระผู้ชาญฉลาดและผู้สร้างสรรค์วรรณกรรมพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียง (เขียนตำราและจุลสารประมาณ 175 เล่ม) ในภาษาฮินดีอันเป็นภาษาประจำชาติของอินเดีย
        ราหุล สันกฤตยยันเป็นนักเขียนที่มีผลงานมาก นอกจากวรรณกรรมพุทธศาสนาแล้ว ยังมีผลงานที่เป็นตำราและกึ่งวิชาการ ท่านได้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์,วิทยาศาสตร์และปรัชญา,บันทึกการท่องเที่ยวและประวัติบุคคล เป็นต้น ท่านยังเป็นนักสำรวจผู้ยิ่งใหญ่อีกด้วย เคยเดินทางตามเส้นทางทุรกันดารไปยังทิเบตสามครั้ง และได้นำเอาต้นฉบับลายมือเขียนภาษาทิเบตที่ทรงคุณค่าหลายชุดกลับมาด้วย ผลงานบางชิ้นท่านยังเป็นบรรณาธิการจัดพิมพ์ ท่านราหุล สันกฤตยยันได้ก่อตั้งสถาบันหลายแห่ง ที่เป็นสถานที่ในการให้บริการสำหรับงานด้านวรรณคดี ยังเคยได้รับรางวัลปัทมภูสานจากรัฐบาลอินเดียอีกด้วย
        ในหมู่นักวิชาการพุทธศาสนา นักวิชาการที่มีชื่อเสียงเด่น ๆ  คือพระภทันต์ อนันท์ เกาสัลยยันและพระดร. ธัมมรักษิตะ ร่วมกันเขียนตำราไว้ 12 เล่ม(รวมถึงที่แปลเป็นภาษาบาลี) ด้วยความน่าเชื่อถือ มีงานที่เขียนเป็นภาษาบาลีและภาษาฮินดี ทั้งสองท่านได้รับปริญญาเอกแห่งวิทยาวาริธี(ดอกเตอร์ทางวรรณคดี) โดยมหาวิทยาลัยปัตนะ, นวนาลันทามหาวิหาร นาลันทา นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาที่เด่นๆคนอื่นๆคือพระ นันทพรรษา มหาสถวีระ ท่านได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่มในภาษาอัสสัม
        วรรณกรรมที่เป็นตำราและกึ่งตำราที่แต่งโดยนักปราชญ์และนักวิชาการต่างๆเพื่อปลุกให้ขบวนการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้ตื่นขึ้นมามีผลกระทบต่อนักเขียนชาวอินเดีย  ในท่ามกลางวรรณกรรมจำนวนมากที่เขียนบนเรื่องราวของพระพุทธศาสนา นักเขียนที่เด่นๆคือ คุรุเทพ ระพินทรนารถ ฐากูร รัฐกวีแห่งอินเดียผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล อาจารย์ จตุรเศียร ศาสตรีและยัสหปาล นักเขียนภาษาฮินดีชั้นยอดสองท่าน และกุมารัน อัสสัน กวีชาวมาลายลัมสมัยใหม่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง
        พระพุทธเจ้าไม่ใช้ภาษาสันสกฤต ที่เป็นภาษาที่คนส่วนน้อยศึกษา และได้ใช้ภาษาพูดของประชาชน เพื่อเผยแผ่คำสอนของพระองค์สู่มหาชนโดยตรง  ภาษานี้ต่อมาได้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารสำหรับชาวพุทธในอินเดียนั่นคือภาษาบาลี เป็นภาษาที่ใช้เขียนพระติปิฎก(สันสกฤตเป็นไตรปิฎก) เป็นภาษาหนึ่งที่กลับมามีชีวิตอีกครั้งในอินเดีย ภาษาบาลีคือภาษาปรากฤตเก่าและปัจจุบันเขียนด้วยอักษรเทวนาครี การศึกษาภาษาบาลีได้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับขบวนการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยกัลกัตตาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่แยกเป็นภาควิชาภาษาบาลี ปริญญามหาบัณฑิตทางภาษาบาลี  เปิดขึ้นครั้งในปีพุทธศักราช 2444      มหาวิทยาลัย
        บอมเบย์เป็นมหาวิทยาลัยต่อมาที่เปิดสอนด้านการศึกษาภาษาบาลี  วิทยาลัยเฟอร์กูสัน ปูณา ที่พระธัมมนันทะ โกสัมพีเป็นศาสตราจารย์ทางภาษาบาลีจากปีพุทธศักราช 2455-2461 เป็นวิทยาลัยที่สำคัญในการสอนภาษาบาลีที่เดกแคน  ปัจจุบันมีภาควิชาพุทธศาสตร์แพร่หลายในมหาวิทยาลัยในกัลกัตตา,เดลีและสันสกฤตมหาวิทยาลัย,วาราณสี อันธระ,อัลลาฮาบาด,บาโรดา,บานารัส,ลัคเนาว์,มคธ,มารัถวาดา,ปัตนะ เป็นต้น มีการสอนที่จัดเตรียมไว้อย่างพอเพียงสำหรับภาษาบาลี การสอนภาษาบาลีในโรงเรียน ภาษาบาลีเป็นภาษาคลาสสิคจัดสอนในโรงเรียนที่อัสสัม,มหาราษฎร์,อุตตรประเทศและเวสท์เบงกอล
        สังเกตได้จากประวัติบุคคล ผลงานทางตำราของพระพุทธศาสนาปัจจุบันมีจำนวนมากในภาษาฮินดี,อัสสัม,เบงกาลี,คูจราตี,มาราธี,เตเลกูและอูรดู ธรรมบทเป็นตำราที่มีผู้นิยมแปลมากที่สุด  สาเหตุน่าจะมาจากเนื้อหาที่ชัดเจน ซึ่งเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิตสำหรับประชาชนหลายล้านคนตลอดอายุ ปัจจุบันวรรณกรรมพุทธศาสนาหาได้ง่ายในภาษาสำคัญๆ  เป็นที่สังเกตได้ว่าเริ่มเห็นคุณค่าตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 25 มีหนังสือมากกว่า 500 เรื่องที่เขียนโดยนักเขียนชาวอินเดีย ในจำนวนงานเขียนเหล่านี้ งานเขียนภาษามาราธีของธัมมนันทะ โกสัมพีเรื่อง “ภัควัน พุทธะ” เป็นงานที่ได้รับการแปลมากที่สุด เกือบจะทุกภาษาในอินเดียโดยสหิตะอคาเดมี งานเขียนที่มีชื่อเสียงของดร. บี.อาร์.เอ็มเบ็ดการ์คือ “พระพุทธเจ้าและธรรมของพระองค์” (คนทั่วไปรู้จักเหมือนเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนา) ชาวพุทะในอินเดียศึกษาด้วยความเคารพ พระภทัต์ อนันท์ เกาสัลยยันแปลเป็นภาษาฮินดีและปัญจาบี
        นอกจากนั้นยังมีรายการหนังสือในภาษาต่างๆ รวมถึงวารสารที่อุทิศเพื่อพระพุทธศาสนา มีบางช่วงที่รับเอาตามเหตุของพระพุทธศาสนา

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก