ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

          มีธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์อย่างหนึ่งในเทศกาลเข้าพรรษา ที่พระสงฆ์จะไปถวายสักการะขอขมาแด่พระสังฆเถระ ซึ่งอาจจะล่วงเกินด้วยกาย วาจา ใจต่อพระเถระในรอบปีที่ผ่านมา เกิดขึ้นได้ทุกเวลาหากมีความประมาท ก่อนอธิษฐานเข้าพรรษาจึงธรรมเนียมปฏิบัติคือการขอขมาต่อพระรัตนตรัย จากนั้นขอขมาต่อพระเถระในอารามที่พระสงฆ์จะอยู่จำพรรษา หลังเข้าพรรษาก็จะนิยมไปถวายสักการะและขอขมาต่อพระเถระตามวัดต่างๆ ขอให้ท่านอดโทษ ยกโทษให้ หลังวันเข้าพรรษาตามอารามต่างที่มีพระเถระผู้มีตำแหน่งในการผู้ปกครองคณะสงฆ์จึงมีพระภิกษุจากวัดต่างๆเดินทางมาถวายสักการะและขอขมาต่อพระสังฆเถระ ณ อารามทั้งหลาย
 

          คำขอขมานิยมกล่าวเป็นภาษาบาลีว่า “เถเร ปมาเทน ทวารตฺตเยน กตํ สพฺพํ อปราธํ ขมตุ โน ภนฺเต” แปลว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระเถระจงอดโทษซึ่งความผิดทั้งปวงที่พวกข้าเจ้าได้กระทำล่วงเกินด้วยความประมาทในพระเถระ ด้วยไตรทวาร” พระเถระก็จะบอกว่า “อหํ ขมามิ ตุมฺเหหิปิ เม ขมิตพฺพํ “ ข้าพเจ้ายกโทษให้ และขอให้พวกท่านพึงยกโทษให้แก่ข้าพเจ้าด้วย”


          ในท้ายที่สุดพระเถระก็จะให้พรในทำนองว่าสิ่งที่ทำผิดมาแล้วก็ขอให้แล้วไป ให้กลับตัวกลับใจเสียใหม่เริ่มต้นกันใหม่ ภาษิตที่นิยมนำมาแสดงมาจากอังคุลิมาลสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ (13/534/396)  ความว่า “ครั้งหนึ่งพระพระองคุลิมาลไปในที่ลับเร้นอยู่ เสวยวิมุติสุข ได้เปล่งอุทานในเวลานั้นว่า

                              “โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา      ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ          

                              โสมํ โลกํ ปภาเสติ            อพฺภามุตฺโตว จนฺทิมา

                              ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ            กุสเลน ปหียติ

                              โสมํ โลกํ ปภาเสติ            อพฺภามุตฺโตว จนฺทิมา ฯ 
          แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “ ก็ผู้ใด เมื่อก่อนประมาท ภายหลังผู้นั้นไม่ประมาท เขาย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดังพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆฉะนั้น  ผู้ใดทำกรรมอันเป็นบาปแล้ว ย่อมปิดเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ”
          พระองคุลิมาลคืออดีตมหาโจรที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มีคำบรรยายในพระสูตรว่า “โจรองคุลิมาลเป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในกาฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เขาเข่นฆ่ามนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้”
          พระพุทธเจ้าเสด็จเดินผ่านทางที่องคุลิมาลอาศัยอยู่ องคุลิมาลก็ถือดาบผูกสอดแล่งธนูเดินตามหลังพระพุทธเจ้าไปด้วยเจตนาจะปล้นและฆ่า แต่เดินอย่างไรก็ไม่ทัน แม้จะวิ่งก็ยังตามไม่ทัน เพราะพระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธาภิสังขารที่แม้องคุลิมาลจะวิ่งเต็มกำลังก็ไม่อาจจะตามทันพระพุทธเจ้าผู้เสด็จไปตามปรกติได้ องคุลิมาลวิ่งจนเหนื่อยจึงกล่าวขึ้นว่า “จงหยุดก่อนสมณะ จงหยุดก่อนสมณะ” พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “เราหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านเล่าจงหยุดเถิด”


          คำว่า “หยุด” ในอังคุลิมาลสูตร(13/525/391) พระพุทธเจ้าอธิบายไว้ว่า “ดูกร องคุลิมาล เราวางอาชญาในสัตว์ได้แล้ว จึงชื่อว่าหยุดแล้วในกาลทุกเมื่อ ส่วนท่านไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราจึงหยุดแล้ว ท่านยังไม่หยุด”
          ภายหลังองคุลิมาลได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาจนบรรลุพระอรหัตเป็นพระอรหันต์ จึงนิยมเรียกกันว่าโจรกลับใจ จากผู้ร้ายกลายเป็นพระอรหันต์ในการถวายสักการะขอมาพระสังฆเถระจึงนิยมนำคำอุทานที่พระองคุลิมาลแสดงไว้มาเป็นอุทาหรณ์ว่าแม้ผู้ที่ได้ชื่อว่าทำผิดมามาก แต่ภายหลังก็สามารถกลับตัวเป็นคนดีได้
          วันนั้นไปถวายสักการะและขอขมาแด่พระสังฆเถระสามวัดคือสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิตร สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร และสมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรินทราวาส เจ้าประคุณสมเด็จทั้งสามรูปได้ให้โอวาทในการปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่การปฏิบัติเพื่อฝึกอบรมตนในเทศกาลเข้าพรรษา

 

          คนเราอาจจะพลั้งเผลอด้วยความประมาทจนทำผิด พูดผิด คิดผิด บางครั้งอาจจะแอบนินทาว่าร้ายต่อพระเถรานุเถระทั้งหลาย เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษาในแต่ละปีจึงต้องขอขมาต่อพระเถระเหล่านั้น ขอให้ท่านอดโทษ ยกโทษให้ไม่เอาผิดไม่ถือโทษโกรธเคือง ปุถุชนผิดพลาดกันได้ แต่ทำผิดแล้วยอมรับผิดและพร้อมที่จะแก้ไขก็มีแนวโน้มจะเป็นคนดีได้  อีกอย่างหนึ่งพระผู้น้อยก็มีโอกาสได้เข้ากราบถวายเครื่องสักการะแด่พระมหาเถระอันแสดงออกถึงความเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนเคารพรักนับถือกันตามสมควรแก่ฐานะและอายุพรรษา ใครอุปสมบทก่อนพรรษามากกว่า พระผู้อุปสมบททีหลังก็ต้องให้ความเคารพกันตามธรรมเนียมปฏิบัติ พระสงฆ์ไม่ได้นับเคารพกันที่อายุขัยแต่เคารพนับถือกันที่อายุพรรษา ใครอุปสมบทก่อนแม้อายุจะน้อยกว่าก็ต้องกราบไหว้ นี่เป็นธรรมปฏิบัติที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
08/08/55

 

ขอขอบคุณ www.mbu.ac.th ที่เอื้อเฟื้อภาพถ่าย

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก