วันอาสาฬหบูชาปีนี้มาช้ากว่าทุกปี วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษาหนึ่งวัน เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย อาสาฬหเป็นชื่อเดือนแปด อาสาฬหบูชาย่อมาจากคำว่า "อาสาฬหบูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนแปด" ถ้าปีใดเป็นปีอธิกมาสมีเดือนแปดสองครั้งก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนแปดหลัง ในปีพุทธศักราช 2555 เป็นปีอธิกมาสหรือแปดสองหน วันอาสาฬหบูชาจึงตรงกับวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนแปดที่สอง ตรงกับวันที่ 2 สิงหาคม 2555
วันอาสาฬหบูชาตรงกับขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 (อาสาฬหะ) ในวันนี้มีเหตุการณ์สำคัญสรุปได้ 5 ประการคือ
(1) เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนา
(2) พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาคือธัมจักกัปปวัตนสูตร เป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก
(3) เป็นวันแรกที่มีพระสงฆ์สาวกเกิดขึ้นในโลกคือพระอัญญาโกญทัญญะ
(4) เป็นวันแรกที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์คือพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์
(5) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงได้ปฐมสาวกคือ การที่ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม และบวชเป็นพระภิกษุ จึงเป็นสาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้า
ส่วนวันเข้าพรรษาตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 หลังวันอาสาฬหบูชาหนึ่งวัน เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานจิตเริ่มอยู่จำพรรษาโดยไม่เดินทางไปค้างแรมที่อื่นตลอด 3 เดือน เป็นโอกาสให้ประชาชนให้ลด ละ เลิกอบายมุขในวันสำคัญนี้ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันอาสาฬหบูชาเรียกว่าธัมมจักกัปวัตนสูตร เป็นพระสูตรที่ปรากฎในพระวินัยปิฎก มหาวรรค (4/13-17/18-22) พระสงฆ์จะนิยมสวดเป็นภาษาบาลี คนที่จะรู้ความหมายในพระสูตรได้จะต้องรู้ภาษาบาลี วันนี้ได้นำเอาบทสวด ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ภาษาบาลีไทย และฉบับแปลเป็นภาษาไทยโดยไม่ได้ตัดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดออกไป เป็นเนื้อหาที่แปลมาจากภาษาบาลีโดยตรงมีปรากฎตามสำนวนแปลจากพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง ซึ่งกรมการศาสนาจัดพิมพ์ในปีฉลองรัชดาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พุทธศักราช 2514 มาให้ศึกษา ส่วนผู้ที่เข้าใจภาษาจะสวดตามหรือฟังพระสวดและดูคำแปลภาษาไทยไปด้วยก็ได้ จะได้ทั้งบุญและได้ปัญญา
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (ปฐมเทศนา)
เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ
กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถา คะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะ มายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะ เตนะ อะภิ สัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะ
สะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยัะสัจจัง ชาติปิ ทุกขะ ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะ ทุกขะ โทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกยา ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภิ นันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ
กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจังฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะ นิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะ สัจจัง ฯ อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทพปาทิ ญาณัง อุทะปาทิปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ฯ
อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะ สัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะ สัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ฯ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะ ปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะ พราหมะณิยา ปายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง ปุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิปุ นัพภะโวติ ฯ อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิ ภัญญะมาเน อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สุมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ
ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยังบ อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิวา โลกัสมินติ ฯ
ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัททังสุตวา
นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะระนิมมิตะ วะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
(นิยมสวดถึงตรงนี้)
พรัหมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พรัหมะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
มะหาพรัหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ มะหาพรัหมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
สุภะกิณหะกา เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุง ฯ สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
(จากนั้นสวดต่อไปดังนี้)
เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิ วัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ
อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ อะยัญจะ ทะสะสะ
หัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ
อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ อิติหิทัง อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
คำแปลธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หรือจะเขียนเป็น "ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร" ก็ได้ "ธัมม" กับ "ธรรม" มีความหมายเหมือนกัน
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะพระปัญจวัคดีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพคือ
การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนเป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้นนั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิดย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลายที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วย ปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน
ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรคมีองค์แปดนี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลายนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณได้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ห้าเป็นทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปรกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คืออริยมรรคมีองค์แปดนี้แหละ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่านี้ทุกขอริยสัจ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่าทุกขอริยสัจนี้นั้นแลควรกำหนดรู้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่าทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้นแลควรละเสีย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแลควรทำให้แจ้ง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิด ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่าทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่านี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแลควรให้เจริญ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจสี่นี้มีรอบสาม มีอาการสิบสอง อย่างนี้ยังไม่หมดจดดีแล้วเพียงใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจสี่นี้มีรอบสามมีอาการ สิบสองอย่างนี้หมดจดดีแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พรามหณ์ เทวดา และมนุษย์
อนึ่งปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพันวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป
ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความคับเป็นธรรมดา
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้วเหล่าภุมมเทวดาได้บันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกจะปฏิวัติไม่ได้
เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นดาวดึงส์ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นยามา ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นดุสิตได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นยามาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นนิมมานรดี ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นดุสิตแล้วก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นนิมมานรดีก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นพรัหมะปาริสัชชาได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตีก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้น พรัหมะปะโรหิตา ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นพรัหมะปาริสัชชาก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นมะหาพรัหมาได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นพรัหมะปะโรหิตา ก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นปะริตตาภาได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นมะหาพรัหมาก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นอัปปะมาณาภาได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปะริตตาภาก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นอาภัสสะราได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นอัปปะมาณาภาก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นปะริตตะสุภาได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นอาภัสสะราก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นอัปปะมาณะสุภาได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปะริตตะสุภาก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นสุภะกิณหะกา ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นอัปปะมาณะสุภาก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นเวหัปผะลา ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้น สุภะกิณหะกา ก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นอะวิหาได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นเวหัปผะลาก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นอะตัปปาได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นอะวิหาก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นสุทัสสาได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นอะตัปปาก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นสุทัสสีได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นสุทัสสาก็บันลือเสียงต่อไป
เทวดาชั้นอะกะนิฏฐะกาได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นสุทัสสี
เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหมได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไปว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกจะปฏิวัติไม่ได้
ชั่วขณะกาลครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนั้นแล
ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ปรากฏแล้วในโลกล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระอุทานว่าท่านผู้เจริญโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้นคำว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” นี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะด้วยประการฉะนี้"
ธัมมจักกัปวัตนสูตรจบ
เนื้อความแห่งปฐมเทศนาหรือเทศนาครั้งแรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงแก่ปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ปัจจุบันคือสารนาถ แม้กาลเวลาจะผ่านไปนานกว่าสองพันหกร้อยปีแล้ว แต่สถานที่แห่งนั้นปัจจุบันยังได้รับการอนุรักษฺไว้เป็นอย่างดี มองเห็นซากแห่งสถานที่ที่เคยเป็นวัด และสถานที่ที่ทรงแสดงปฐมเทศนามีธัมเมขสถูปสร้างไว้เป็นอนุสรณ์ "ธัมเมกขสถูป" มาจากคำว่า "ธัมเมกขะ" หมายถึง เห็นธรรม ส่วน "สถูป" หมายถึงสิ่งก่อสร้างที่บรรจุของควรบูชา เป็นอนุสรณ์เตือนใจให้เกิดกุศลธรรม ดังนั้นธัมเมกขสถูปจึงเป็นอนุสรณ์แด่ท่านผู้เห็นธรรมในครั้งนั้น คือพระอัญญาโกณทัญญะ
เหตุการณ์ทุกอย่างในประวัติศาสตร์มีหลักฐานยืนยันไว้ชัดเจน เนื้อหาในธัมมจักกัปวัตนสูตรนั้นค่อนข้างยาวและยาก แต่หากค่อยๆอ่านค่อยๆพินิจพิจารณาก้จะเห็นได้ถึงความสละสลวยกลมกลืนของการแสดงธรรม ค่อยๆอ่านอย่างใจร้อน การอ่านและศึกษาธรรมะก็คือการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง ทุกอย่างย่อมมีครั้งแรกเสมอ หากเริ่มต้นดีย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง
พระมหาบุญไทย ปุญญมโน
01/08/55
บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
{youtube}rlQY-PWuWYo&feature=related{/youtube}
บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
{youtube}FH_gNwZlL-o&feature=related{/youtube}
บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรทำนองอินเดีย
{youtube}Wyp_euqJKQk{/youtube}
บทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตรทำนองอินเดีย(แปล)
{youtube}hkjRoIB4IiE&feature=related{/youtube}