ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

           ตามประเพณีไทยในช่วงสงกรานต์สิ่งหนึ่งที่นิยมปฏิบัติกันคือการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เพื่อขอพรจากผู้สูงอายุ ตามปกติคนที่มีอายุหกสิบปีขึ้นไปจะนิยมเรียกว่า “คนแก่” ในทางราชการให้เกษียณอายุราชการ ให้หยุดทำหน้าที่พักผ่อนอยู่ที่บ้าน เพื่อจะได้อยู่เป็นที่พึ่งของลูกหลาน แต่ในทางพระพุทธศาสนาพระสงฆ์ที่มีอายุหกสิบปีเป็นวัยที่พึ่งเริ่มทำงาน พุทธศาสนิกชนส่วนหนึ่งนิยมเข้าหาพระเถระที่มีอายุมาก เพราะเชื่อกันว่าท่านมีคุณธรรมสูง เข้าทำนองที่ว่าแก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีคุณธรรม ท่านจึงได้เริ่มทำงานเพื่อประโยชน์สุขของคนอื่นๆ


           วันที่ 7 เมษายน 2554 ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบวันเกิดของพระเทพปริยัติวิมล(แสวง ธมฺเมสโก) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งมีอายุครบ 60ปี คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ บุคคลากรจึงได้จัดงานครบรอบวันเกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศาลายา นครปฐม ไปร่วมงานกับเข้าด้วยจึงได้รับแจกหนังสือมาหลายเล่ม มีเล่มหนึ่งอ่านแล้วน่าสนใจคือ “ความสมหวังของคนแก่” มีข้อความตอนหนึ่งที่ท่านอธิการบดีเขียนไว้ว่า “ทำชีวิตให้มีค่า ทำเวลาให้มีประโยชน์” เมื่อเป็นกรรมก็เป็นไปตามกรรม ได้เป็นรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นผู้รักษาการแทนอธิการบดี และอธิการบดีโดยลำดับถือเป็นการ “ทำชีวิตให้มีค่า ทำเวลาให้มีประโยชน์” มุ่งประโยชน์ท่านคือสถาบันและประโยชน์อย่างยิ่งคือสังคมประเทศและพระพุทธศาสนา”ท่านดำเนินการโครงการย้ายมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย บนเนื้อที่180ไร่ จากพื้นที่ที่เป็นทุ่งนา จนปัจจุบันกลายเป็นอาณาจักรทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่มีนักศึกษาหลายหมื่น

 

           ในพระพุทธศาสนาคำว่า “คนแก่” มาจากคำว่า “วุฒ” หรือ “วุฒิ” คำว่า “วุฒ” แปลว่าเจริญ แก่ ส่วนคำว่า “วุฒิ” แปลว่า ความเจริญ ความสมบูรณ์ พอสรุปได้ว่าวุฒหรือวุฒิหมายถึงคนแก่ แต่คนแก่ในพระพุทธศาสนาไม่ได้หมายถึงคนมีอายุมากเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงคนอีกสี่ประเภทที่เรียกว่าคนแก่เหมือนกัน ดังที่มีแสดงไว้ในอรรถกถากิงสีลสูตร ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม 1 ภาค 6  หน้าที่ 276 ซึ่งได้แสดงคนแก่ไว้ในคำว่า “วุฑฺฒาปจายี” มี  4  จำพวกคือ ปัญญาวุฑฒบุคคล  คุณวุฑฒบุคคล   ชาติวุฑบุคคล  และวุฑฒบุคคล” มีคำอธิบายดังนี้ 
           1.ปัญญาวุฑฒะ หมายถึงคนที่แก่ด้วยภูมิความรู้ แม้จะมีอายุยังน้อย แต่หากมีความรู้มากก็เรียกได้ว่าด้วยความรู้ ในอรรถกถาท่านแสดงถึงภิกษุที่เป็นพหูสูตแม้โดยกำเนิดจะเป็นคนหนุ่มก็ตาม ก็ชื่อว่าปัญญาวุฑฒะได้ เพราะเป็นผู้เจริญแล้วด้วยปัญญา คือพาหุสัจจะในสำนักในระหว่างแห่งภิกษุเเก่ผู้มีการศึกษาน้อยทั้งหลาย  ด้วยว่าแม้ภิกษุแก่ทั้งหลายเรียนอยู่ซึ่งพุทธวจนะในสำนักของภิกษุหนุ่มนั้น และหวังอยู่ซึ่งโอวาท การวินิจฉัยความ   และการแก้ปัญหาทั้งหลาย   

           2.คุณวุฑฒะ   หมายถึงผู้เจริญหรือแก่ด้วยคุณธรรม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ บางครั้งคนที่มีคุณธรรมสูงส่งนั้นอาจจะยังมีอายุไม่มากก็ได้ อาจจะเป็นพระภิกษุหรือสามเณรรูปหนุ่มที่มีคุณธรรมสูงก็เป็นคนแก่ด้วยคุณวุฒิได้เหมือนกัน ในอรรถกถาท่านแสดงถึงภิกษุที่ถึงพร้อมด้วยอธิคม (บรรลุคุณวิเศษมีฌานและมรรคผลเป็นต้น)ชื่อว่า คุณวุฑฒะคือผู้เจริญโดยคุณ  เพราะว่าแม้ภิกษุแก่ทั้งหลายดำรงอยู่ในโอวาทของภิกษุหนุ่มนั้นแล้วเจริญวิปัสสนาแล้วย่อมบรรลุอรหัตผลได้
           3.ชาติวุฑฒะ  หมายถึงผู้ที่แก่โดยชาติกำเนิดเช่นพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ แม้ทรงพระเยาว์ เป็นกษัตริย์ผู้ได้รับมุรธาภิเษกแล้ว   หรือจะเป็นพราหมณ์ก็ตาม  ก็เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ของชนที่เหลือชื่อว่า  ชาติวุฑฒะ  ผู้เจริญโดยชาติ  คนแก่ประเภทนี้แก่เพราะชาติกำเนิด  สงวนสิทธิ์เฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น
           4. วัยวุฑฒะ หมายถึงคนที่มีอายุมากจึงเรียกว่าคนแก่ เพราะเกิดก่อนทุกจำพวก จึงเป็นผู้เจริญหรือแก่ตามวัย ภาษิตไทยมีอยู่คำหนึ่งว่า “แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน”

           ในบรรดาวุฑฒบุคคลสี่จำพวกเหล่านั้น  เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสียแล้ว ใคร ๆ  ผู้จะเสมอด้วยพระสารีบุตรเถระในทั้งปัญญาย่อมไม่มี เพราะเหตุที่ท่านได้บรรลุสาวกบารมีญาณทั้งปวง  พร้อมด้วยคุณทั้งหลายในเวลาครึ่งเดือน พระสารีบุตรนั้นแม้โดยชาติสกุล ก็อุบัติแล้วในสกุลพราหมณ์มหาศาล พระสารีบุตรนั้นแม้จะเสมอกันโดยวัยกับภิกษุผู้เป็นสหายของท่าน ก็ชื่อว่าเจริญแล้วด้วยเหตุทั้งสามประการเหล่านี้ 
           คนที่มีคุณสมบัติของคนแก่ครบทั้งสี่ประการหายาก โดยเฉพาะชาติวุฒินั้นต้องอยู่ในสังคมที่มีระบบชนชั้น ในอินเดียโบราณสมัยพุทธกาลยังมีระบบวรรณะ คนนับถือกันตามวรรณะคือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร แม้ปัจจุบันจะมีน้อยลง ระบบวรรณะก็ยังคมมีให้เห็นในสังคมอินเดีย ส่วนประเทศที่ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ก็เริ่มเหลือน้อยลงแล้ว ประเทศไทยแม้จะมีพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย แต่ก็อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ผู้ที่กำเนิดในสกุลกษัตริย์ก็ถือว่าเป็นคนแก่ด้วยชาติวุฒิ

           พระเทพปริยัติวิมลได้เจริญด้วยวัยวุฒมีอายุครบหกสิบปี มีปัญญาวุฒและคุณวุฒเป็นผู้บริหารสูงสุดในมหาวิทยาลัยคืออธิการบดี ซึ่งมีตำแหน่งเดียวในหนึ่งมหาวิทยาลัย คนที่ไม่มีปัญญาและคุณสมบัติจะอยู่ในตำแหน่งนี้ไม่ได้ ส่วนชาติวุฒนั้นเป็นอันตกไปเพราะท่านเขียนไว้ในหนังสือที่แจกในงานอีกเล่มหนึ่งว่า “ชีวิตและงานของเด็กบ้านนอกจากสิงห์บุรี”ท่านเป็นเด็กบ้านนอกบรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 9 ขวบ จนปัจจุบันมีสมณศักดิ์ที่ “พระเทพปริยัติวิมล”เป็น “คนแก่”อายุครบ 60 ปี ของบุคคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นอธิการบดีที่แก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีคุณธรรม

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
08/04/54

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก