ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

             ในบรรดาคนที่ชาวโลกยอมรับว่าฉลาดมากที่สุดจะต้องมีชื่อของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เจ้าของทฤษฎีสัมพันธภาพ ผู้มีวาทะติดปากชาวโลกว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้”อีกคนหนึ่งที่ถูกยอมรับว่ามีความฉลาดไม่แพ้กันปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่คือสตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์พิการ เจ้าของผลงาน A Breif History of Time ฉบับแปลภาษาไทยว่า “ประวัติย่อของเวลา” เป็นหนังสือที่อ่านยากมาก ใครที่ไม่ได้ร่ำเรียนมาทางฟิสิกส์เคมีสามารถอ่านจบและเข้าใจต้องยอมรับว่าเก่งและฉลาดจริง  
             ความฉลาดเป็นอย่างไรมีความเกี่ยวเนื่องอะไรกับจิตใจ คนเช่นใดจึงจะเรียกว่ามีใจฉลาด คำว่า “ใจฉลาด”ในที่นี้หมายถึงการรู้จักคิดหาเหตุผล จนเข้าใจสภาวะธรรมตามที่มันเป็นจึงจะได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิต ในที่นี้มิได้หมายถึงบัณฑิตที่เรียนจบระดับมหาวิทยาลัยแล้วเป็นบัณฑิต แต่หมายถึงบัณฑิตตามทัศนะของพระพุทธศาสนาซึ่งได้แสดงลักษณะของบัณฑิตไว้ในพาลบัณฑิตสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ (14/484/247) ความว่า “ลักษณะ  เครื่องหมาย  เครื่องอ้างว่าเป็นบัณฑิตของบัณฑิตนี้มีสามอย่างคือบัณฑิตในโลกนี้มักคิดความคิดที่ดี  มักพูดคำพูดที่ดี  มักทำการทำที่ดี  ถ้าบัณฑิตจักไม่เป็นผู้คิดความคิดที่ดี  พูดคำพูดที่ดี  และทำการทำที่ดีบัณฑิตพวกไหนจะพึงรู้จักเขาได้ว่าผู้นี้เป็นบัณฑิต  เป็นสัตบุรุษ  เพราะบัณฑิตมักคิดความคิดที่ดี มักพูดคำพูด  ที่ดี  และมักทำการทำที่ดี  ฉะนั้นพวกบัณฑิตจึงรู้ได้ว่า  ผู้นี้เป็นบัณฑิตเป็นสัตบุรุษ บัณฑิตนั้นนั่นแลย่อมเสวยสุขโสมนัสสามอย่างในปัจจุบัน”   



ไอสไตน์ ฮอว์คิง อาตมาไม่รู้จัก แต่เชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า

             สรุปว่าคนที่จะเป็นบัณฑิตต้องเริ่มต้นด้วยการคิดดี พูดดี และทำดีซึ่งก็คือมีกายสุจริต  มีวจีสุจริต  และมีมโนสุจริต เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์อันเป็นสถานที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ดังนั้นการจะเป็นบัณฑิตตามทัศนะของพระพุทธศาสนาได้นั้นจะต้องฝึกตนให้ผ่องแผ้วจากกิเลส ดังที่ปรากฎหลักฐานยืนยันในสังยุตนิกาย มหาวารวรรค (19/98/29)ว่า “ปริโยทเปยฺย  อตฺตานํ  จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต" แปลว่า "บัณฑิตพึงทำตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองจิต"และในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ (13/534/487)ว่า “อตฺตานํ  ทมยนฺติ  ปณฺฑิตา" แปลเป็นไทยว่า "บัณฑิต  ย่อมฝึกตน"
             ส่วนเรื่องของนิพพานนั้นเป็นเรื่องที่อธิบายด้วยถ้อยคำไม่ได้ เพราะอยู่เหนือเหตุผล คนที่บรรลุนิพพานท่านก็ไม่พูดเพราะจะเสี่ยงกับการอวดตน เราจึงไม่สามารถจะรู้ได้เลยว่าพระสงฆ์รูปใดเข้าสู่นิพพานแล้ว คนที่นิพพานด้วยกันเท่านั้นจึงจะเข้าใจสภาวะจิตของกันและกันได้ 
             มีเรื่องเล่าว่าปลาและเต่าเป็นเพื่อนกันอาศัยอยู่หนองน้ำแห่งหนึ่ง วันหนึ่งเต่าขึ้นไปเที่ยวบนบกกลับมาเล่าความงดงามของต้นไม้ใบหญ้าที่ไปเห็นมาให้ปลาฟัง พอปลาได้ฟังก็ไม่เข้าใจจึงย้อนถามว่าต้นไม้เป็นอย่างไรเหมือนกอบัวที่เราเห็นไหม เต่าก็พยายามอธิบายให้ฟังว่าต้นไม้มันสูงใหญ่มากต้องแหงนหน้าขึ้นมอง มีทั้งใบใหญ่ใบเล็ก บางต้นมีใบเรียวแหลมสูงชลูด ลำต้นมีเนื้อแข็งมาก ธรรมชาติของบนบกงดงามร่มรื่น มีแสงแดดให้ความอบอุ่นเหมาะสำหรับนอนอาบแดด เต่าเล่าจบยังเอ่ยปากชวนปลาไปนอนอาบแดดใต้กอไผ่บนบกด้วย  เต่าพยายามอธิบายความเป็นบกให้ปลาที่ไม่เคยขึ้นบกมาก่อนเลยในชีวิตฟัง อธิบายเท่าไหร่ปลาก็ไม่เข้าใจ ในที่สุดปลาก็สรุปว่า “ที่เรียกว่า “บก”นั้นไม่มี มีแต่ "น้ำ"เท่านั้นที่มีอยู่จริง" เพราะปลาไม่เคยเห็นบกเคยเห็นแต่น้ำ อีกอย่างเต่าก็ไม่สามารถอธิบายให้ปลาเข้าใจได้ สุดท้ายเต่าเลยกลายเป็นผู้โกหกในทัศนะของปลาไปโดยปริยาย  



กอไผ่ริมฝั่งโขง

             นิพพานก็เฉกเช่นเดียวกันจะอธิบายให้คนที่ไม่เคยไปนิพพานฟังอย่างไรก็ไม่เข้าใจ เหมือนเต่าอธิบายบกให้ปลาฟังไม่ได้นั่นแล แต่มีพุทธภาษิตเกี่ยวกับนิพพานไว้มากมายเช่นในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์(13/287/281) “นิพฺพานํ  ปรมํ  สุขํ  นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง” แต่จะสุขอย่างไรนั้น ใครไปถึงก่อนกลับมาอธิบายให้ฟังบ้าง บางทีอาจจะมีคนที่ฉลาดพอสามารถจะเข้าใจได้
             คนที่มีใจชอบแสวงหาความรู้ทำให้เกิดความฉลาดและเรียกคนฉลาดว่าบัณฑิต มีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่งไอสไตน์ เข้าสอนนักศึกษาในห้องเรียนไอสไตน์ได้ตั้งโจทย์ถามนักศึกษาว่า “มีคนซ่อมปล่องไฟสองคน กําลังซ่อมปล่องไฟเก่า พอพวกเขาออกมาจากปล่องไฟ ปรากฏว่า คนหนึ่งตัวสะอาด อีกคนตัวเลอะเทอะ เต็มไปด้วยเขม่า ขอถามหน่อยว่า คนไหนจะไปอาบน้ำก่อน”
             นักศึกษาคนหนึ่งตอบว่า “ก็ต้องคนที่ตัวสกปรกเลอะเขม่าควันสิครับ ท่านศาสตราจารย์” 
             ไอสไตน์ พูดต่อว่า “งั้นเหรอ คุณลองคิดดูให้ดีนะ คนที่ตัวสะอาด เห็นอีกคนที่ตัวสกปรกเต็มไปด้วยเขม่าควัน เขาก็ต้องคิดว่าตัวเองออกมาจากปล่องไฟเก่าเหมือนกัน ตัวเขาเองก็ต้องสกปรกเหมือนกันแน่ๆ ส่วนอีกคน เห็นฝ่ายตรงข้ามตัวสะอาด ก็ต้องคิดว่า ตัวเองก็สะอาดเหมือนกัน ตอนนี้ ผมขอถามพวกคุณอีกครั้งว่า ใครที่จะไปอาบน้ำก่อนกันแน่” 



ผมนี่แหละไอสไตน์คนต่อไป ตอนนี้กำลังวิจัยแม่น้ำโขงอยู่ครับ

             นักศึกษาคนหนึ่งพูดขึ้นมาด้วยความตื่นเต้นว่า “ผมรู้แล้ว พอคนตัวสะอาดเห็นอีกคนสกปรกก็นึกว่าตัวเองต้องสกปรกแน่ แต่คนที่ตัวสกปรก เห็นอีกคนสะอาด ก็นึกว่าตัวเองไม่สกปรกเลย ดังนั้นคนที่ตัวสะอาดต้องวิ่งไปอาบน้ำก่อนแน่นอน นักศึกษาคนนั้นยิ้มอย่างภาคภูมิใจที่คิดปัญหานี้ได้.... ถูกต้องไหมครับ....ท่านศาสตราจารย์” 
             ไอสไตน์มองไปที่นักศึกษาทุกคน ซึ่งต่างก็เห็นด้วยกับคําตอบนี้ ไอสไตน์ ค่อยๆพูดขึ้นอย่างมีหลักการและเหตุผลว่า “คําตอบนี้ก็ผิด ทั้งสองคนออกมาจากปล่องไฟเก่าเหมือนกัน จะเป็นไปได้อย่างไรกัน ที่คนหนึ่งสะอาด อีกคนหนึ่งจะสกปรก นี่แหละที่เขาเรียกว่า “ตรรกศาสตร์ หลักการว่าด้วยเหตุผลแหละ ” 
             เมื่อเริ่มต้นตีโจทย์ผิดคำตอบก็ต้องผิดตามไปด้วย ชีวิตมนุษย์ก็เฉกเช่นเดียวกันเมื่อเริ่มต้นชีวิตผิด เส้นทางเดินก็ย่อมจะผิดพลาดไปด้วย ชีวิตทั้งชีวิตต้องคิดให้รอบคอบ เมื่อความคิดของคนเราถูกชักนําจนสะดุด ก็จะไม่สามารถแยกแยะและหาเหตุผล แห่งเรื่องราวที่แท้จริงออกมาได้ นั่นคือ “ตรรกหรือเหตุผล”จะหาตรรกได้ก็ต้อง กระโดดออกมาจากพันธนาการของความเคยชิน หลบเลี่ยงจากกับดักทางความคิด หลีกหนีจากสิ่งที่ทําให้หลงทางจากความรู้จริงขจัดทิฐิในกมลสันดาน จะหาตรรก ได้ก็ต่อเมื่อ เราสลัดหมากทั้งหมดที่คนฉลาดเขาจัดฉากวางล่อไว้  จึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนฉลาดที่แท้จริง



จิตใจอาตมานะอิสระ แต่อันนี้จะเรียกกรงขังอะไรดีครับ กรงขังจินตนาการหรือจินตนาการถูกขัง

             การที่จะเป็นคนฉลาดจึงมิใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายนัก และการที่แปลสภาพจากคนฉลาดเป็นบัณฑิตยิ่งยากกว่า การที่จะปล่อยวางทุกอย่างแม้แต่สิ่งที่ตนคิดได้หรืออาจเรียกว่ากับดับทางความคิดหรือกรงขังทางวิญญาณแล้วไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามที่มันควรเป็น จนสามารถกำจัดความไม่รู้(อวิชชา)ให้หมดไปจากจิตใจได้ ยากยิ่งกว่าหลายเท่า

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
06/06/53

 


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก